หลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ดำเนินโครงการ สำรวจศึกษาแหล่งท่องเที่ยวในอารยธรรมสุโขทัย ในระหว่างวันที่ 14-16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 จัดขึ้นสำหรับนักศึกษาสาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอกประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว โดยมีอาจารย์และนักศึกษาเข้าร่วมโครงการจำนวน 25 คน เพื่อสำรวจศึกษา เก็บข้อมูลภาคสนาม และจัดทำคลิปประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวในอารยธรรมสุโขทัย รวมทั้งยังเป็นการฝึกฝนการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ
“รายวิชา 428 333 แหล่งท่องเที่ยวตามประวัติศาสตร์ไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของนักศึกษาในด้านการสำรวจข้อมูลภาคสนาม เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิหลังทาง ประวัติศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงปัจจุบัน และมีความสามารถในการเขียนเชิงประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว สามารถนำความรู้ที่ได้ศึกษาไปประยุกต์ใช้ในการท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์ และงานวิจัย รวมทั้งเพื่อเป็นการสั่งสมประสบการณ์และผลงานเพื่อต่อยอดในการเรียนและการฝึกงานในอนาคต”
ในวันแรกพวกเราได้เดินทางออกจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เวลา 5.00 น. และมาถึงจังหวัดสุโขทัย เวลา12.30 น. ซึ่งสถานที่แรกที่ได้มาเยือน คือ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีสัชนาลัย ตำบลสารจิตร ตำบลหนองอ้อ ตำบลท่าชัย โดยอุทยานมีขอบเขตพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 45.14 ตารางกิโลเมตร
อุทยานแห่งชาติประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เป็นสถานที่ที่มีคุณค่าและมีความสำคัญอย่างมาก เพราะมีโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ และเป็นจุดเริ่มต้นของงานช่างในศิลปกรรมไทย อีกทั้งยังได้รับการยกย่องและขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การ UNESCO ตั้งแต่ พ.ศ. 2534 ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ภายใต้ชื่อ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร
โดยภายในอุทยานมีโบราณสถานที่สำรวจแล้วในขณะนี้มากถึง 283 แห่ง โบราณสถานที่สำคัญที่เราได้ทำการสำรวจในวันนี้ได้แก่ วัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว และวัดนางพญา แหล่งโบราณคดีวัดชมชื่น วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง กลุ่มเตาเผาสังคโลก บ้านเกาะน้อย ซึ่งแสดงให้เห็นพัฒนาการในพื้นที่อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายจนถึงสมัยอยุธยา
วัดช้างล้อม
เวลา 15.00 น. ได้เดินทางไปเยี่ยมชม วัดช้างล้อม เป็นวัดที่สำคัญตั้งอยู่ในกำแพงเมือง เกือบที่จะอยู่กึ่งกลางของตัวเมืองศรีสัชนาลัยบนที่ราบเชิงเขาด้านทิศใต้ของเขาพนมเพลิง โดยโบราณสถานที่สำคัญ คือ เจดีย์ประธานทรงลังกา มีกำแพงแก้วสี่เหลี่ยมจัตุรัสล้อมรอบตั้งอยู่บนฐานประทักษิณรูปสี่เหลี่ยมจัสตุรัส มีช้างปูนปั้นเต็มตัวประดับโดยรอบฐานทั้ง 4 ด้าน รวม 39 เชือก โดยช้างที่ประดับอยู่ตรงมุมจะมีขนาดใหญ่และมีลวดลายปูนปั้นประดับที่คอ ต้นขาและข้อเท้าระหว่างรูปช้างจะมีเสาประทีปสลับอยู่ ด้านหน้าช้างแต่ละเชือกจะมีพุ่มดอกบัวตูมปั้นวางอยู่
ด้านหน้าเจดีย์ประธาน มีบันไดขึ้นสู่ลานประทักษิณ เหนือฐานประทักษิณมีซุ้มพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย 20 ซุ้ม ผนังซุ้มมีประติมากรรมรูปต้นโพธิ์ อยู่เบื่องหลังพระพุทธรูป บริเวณองค์ระฆังขึ้นไปเป็นบัลลังก์ก้านฉ้ตรซึ่งประดับด้วยรูปพระสาวกปูนปั้นปางลีลานูนต่ำ จำนวน 17 องค์
โบราณสถานภายในวัดที่ยังมีหลักฐาน คือ วิหารอยู่ด้านหน้าเจดีย์พระประธาน นอกนั้นเป็นวิหารเล็ก ๆ จำนวน 2 หลัง และเจดีย์ราย อีกจำนวน 2 องค์
เวลา14.45 ออกเดินทางไปที่วัดเจ้าจันทร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มโบราณสถานที่มีมาก่อนสมัยสุโขทัย และมีสิ่งก่อสร้างต่อเนื่องในสมัยสุโขทัยตอนต้น ปรางค์ประธานก่อด้วยศิลาแลง เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมศิลปะแบบบายนที่พบในประเทศไทย ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่าอิทธิพลของเขมรได้เดินทางมาถึงภาคเหนือ ไกลสุดที่ศรีสัชนาลัย
ต่อมาได้เดินทางมาโบราณสถานที่ใกล้กัน คือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ซึ่งตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองศรีสัชนาลัยเชื่อกันว่า วัดแห่งนี้เคยเป็นศูนย์กลางของเมืองเชลียงมาก่อน ตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีนาวนำถม (ประมาณ พ.ศ 1780) ในพุทธศตวรรษที่ 18 วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นวัดที่มีการผสมผสานรูปแบบศิลปะเขมร สุโขทัย และอยุธยา เช่น บนยอดซุ้มประตูเข้าทางวัดมีลักษณะรูปแบบศิลปะสมัยบายน ส่วนปรางค์ประธาน มีรูปแบบลักษณะสถาปัตยกรรมศิลปะแบบอยุธยา (ปราสาททรงฝักข้าวโพด) นอกนั้นส่วนใหญ่เป็นศิลปะสุโขทัย
เวลา 16.00 น. ได้เดินทางไปเยี่ยมชม โบราณสถานบ้านเกาะน้อย ซึ่งเป็นแหล่งเตาเผาเครื่องสังคโลกโบราณโดยที่นี้ได้ค้นพบหลักฐานสำคัญมากมาย เกี่ยวกับกับการผลิตเครื่องสังคโลกซึ่งมีบทบาทสำคัญมากต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสุโขทัยในยุคนั้น ตามบันทึกทางการประวัติศาสตร์พบว่าเครื่องสังคโลกของสุโขทัย โดยเฉพาะที่บ้านเกาะน้อยได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในด้านคุณภาพและความงดงามอีกทั้งมีการส่งออกไปค้าขายยังประเทศจีนช่วยเพิ่มความมั่งคั่งให้แก่เศรษฐกิจของสุโขทัยและต่อเนื่องจนถึงสมัยอยุธยา
ปัจจุบัน บริเวณบ้านเกาะน้อย ซึ่งมีพื้นที่ตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำยม มีการค้นพบเตาเผาสังคโลกเรียงรายริมแม่น้ำยมกระจายทั่วไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร แต่มีการขุดพบแล้วประมาณ 200 เตา สำหรับเตาที่ถูกค้นพบนั้นมีการอนุรักษ์พร้อมทั้งจัดทำอาคารเพื่อจัดแสดง โดยมีกลุ่มเตาเผาที่สำคัญคือเตาเผาหมายเลข 61 มีเตาใต้ดิน 4 เตาเป็นเตาขุดลงไปในดิน ภาชนะที่พบส่วนใหญ่ เป็นไหขนาดใหญ่ สำหรับบรรจุน้ำและของแห้ง และเตาเผาหมายเลข 42 ที่ทำให้ทราบถึงพัฒนาการของเตาเผาและสิ่งผลิตจากเตาโดยพื้นใต้ดินมีการขุดพบเตาเผาสังคโลกที่ทับซ้อนกันอยู่ถึง 19 เตา โดยเตาเผาบ้านเกาะน้อยนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) เตาตะกรับ ซึ่งเป็นเตาขนาดเล็ก เป็นเตาเผาที่ให้ความร้อนในแนวดิ่ง และ 2) เตาทุเรียง มีลักษณะเหมือนประทุนเรือ มีปล่อยระบายควัน และเป็นการให้ความร้อนในแนวนอน
เตาทุเรียง บ้านเกาะน้อย ศรีสัชนาลัย |
เวลา 16.00 น. ได้เดินทางไปเยี่ยมชม โบราณสถานบ้านเกาะน้อย ซึ่งเป็นแหล่งเตาเผาเครื่องสังคโลกโบราณโดยที่นี้ได้ค้นพบหลักฐานสำคัญมากมาย เกี่ยวกับกับการผลิตเครื่องสังคโลกซึ่งมีบทบาทสำคัญมากต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสุโขทัยในยุคนั้น ตามบันทึกทางการประวัติศาสตร์พบว่าเครื่องสังคโลกของสุโขทัย โดยเฉพาะที่บ้านเกาะน้อยได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในด้านคุณภาพและความงดงามอีกทั้งมีการส่งออกไปค้าขายยังประเทศจีนช่วยเพิ่มความมั่งคั่งให้แก่เศรษฐกิจของสุโขทัยและต่อเนื่องจนถึงสมัยอยุธยา
ปัจจุบัน บริเวณบ้านเกาะน้อย ซึ่งมีพื้นที่ตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำยม มีการค้นพบเตาเผาสังคโลกเรียงรายริมแม่น้ำยมกระจายทั่วไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร แต่มีการขุดพบแล้วประมาณ 200 เตา สำหรับเตาที่ถูกค้นพบนั้นมีการอนุรักษ์พร้อมทั้งจัดทำอาคารเพื่อจัดแสดง โดยมีกลุ่มเตาเผาที่สำคัญคือเตาเผาหมายเลข 61 มีเตาใต้ดิน 4 เตาเป็นเตาขุดลงไปในดิน ภาชนะที่พบส่วนใหญ่ เป็นไหขนาดใหญ่ สำหรับบรรจุน้ำและของแห้ง และเตาเผาหมายเลข 42 ที่ทำให้ทราบถึงพัฒนาการของเตาเผาและสิ่งผลิตจากเตาโดยพื้นใต้ดินมีการขุดพบเตาเผาสังคโลกที่ทับซ้อนกันอยู่ถึง 19 เตา โดยเตาเผาบ้านเกาะน้อยนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) เตาตะกรับ ซึ่งเป็นเตาขนาดเล็ก เป็นเตาเผาที่ให้ความร้อนในแนวดิ่ง และ 2) เตาทุเรียง มีลักษณะเหมือนประทุนเรือ มีปล่อยระบายควัน และเป็นการให้ความร้อนในแนวนอน
จากการศึกษาในวันแรกนี้ เป็นการสำรวจในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยทั้งหมด ซึ่งแต่ละสถานที่ที่ไปนั้นล้วนมีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์ไทยอย่างมาก ที่แสดงให้นักศึกษาได้เห็นถึงความต่อเนื่องทางวัฒนธรรม ก่อนที่จะพัฒนาเป็นต้นแบบของศิลปกรรมไทยที่งดงามอย่างที่สุดในสมัยสุโขทัย จนได้ชื่อว่าเป็นยุคคลาสสิกของไทย มีการปรับปรุงรูปแบบจากอิทธิพลศิลปะดั้งเดิมจนมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง รวมทั้งยังได้รับทราบเรื่องราวความเป็นมาของแต่ละสถานที่ ทำให้เกิดความซาบซึ้งและตระหนักถึงคุณค่าของโบราณวัตถุและโบราณสถานที่บรรพบุรุษได้สร้างสมมายาวนานมากขึ้น
span class="s1" style="font-size: 18.36px;">
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น