ที่มา |
อาณาจักรล้านช้างหรือลาวยุคโบราณเริ่มก่อตัวตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 หรือเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 800 ปีที่ผ่านมา มีความใกล้ชิดและรับเอาอิทธิพลทางศิลปะจากเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็น จีน เมียนมาร์ ไทย กัมพูชา และเวียดนาม อันเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศและวัฒนธรรมที่มีร่วมกันมาตั้งแต่อดีตก่อนการมีรัฐชาติสมัยใหม่
แต่ศิลปะลาวมีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัวเนื่องมาจากไม่มีเส้นทางออกสู่ทะเล ทำให้เกิดการตกค้างของรูปแบบเก่าผสมผสานกับรูปแบบที่เข้าไปใหม่จนกลายเป็นลักษณะท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ นอกจากนี้ชาวลาวส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ศิลปกรรมที่สร้างขึ้นส่วนใหญ่จึงมาจากความเคารพและศรัทธาในพระพุทธศาสนา ศิลปกรรมลาวที่สำคัญอาจจำแนกได้ดังนี้
1. จิตรกรรม
งานจิตรกรรมส่วนใหญ่ของลาว คือ จิตรกรรมฝาผนัง (ฮูปแต้ม) ที่นิยมการเล่าเรื่องทศชาติชาดก และวิถีชีวิตของชาวลาวในสมัยก่อน โดยมีพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิตประจำวัน ดังนั้นคนลาวจึงนิยมสร้างวัดไว้ตามคุ้มต่างๆ งานจิตรกรรมฝาผนังตามโบสถ์ (สิม) วิหารจึงเป็นที่นิยมเขียนขึ้นเพื่อความสวยงาม ความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นเครื่องมือสื่อสารให้มีความเข้าใจและซาบซึ้งในเรื่องราวพุทธศาสนาแก่ผู้เลื่อมใส (สงวน รอดบุญ, 2545: 183) นอกจากนี้จิตรกรรมฝาผนังของลาวยังเล่าเรื่องความเป็นมาในประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างลาวกับประเทศเพื่อนบ้านทางด้านเศรษฐกิจ
งานจิตรกรรมส่วนใหญ่ของลาว คือ จิตรกรรมฝาผนัง (ฮูปแต้ม) ที่นิยมการเล่าเรื่องทศชาติชาดก และวิถีชีวิตของชาวลาวในสมัยก่อน โดยมีพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิตประจำวัน ดังนั้นคนลาวจึงนิยมสร้างวัดไว้ตามคุ้มต่างๆ งานจิตรกรรมฝาผนังตามโบสถ์ (สิม) วิหารจึงเป็นที่นิยมเขียนขึ้นเพื่อความสวยงาม ความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นเครื่องมือสื่อสารให้มีความเข้าใจและซาบซึ้งในเรื่องราวพุทธศาสนาแก่ผู้เลื่อมใส (สงวน รอดบุญ, 2545: 183) นอกจากนี้จิตรกรรมฝาผนังของลาวยังเล่าเรื่องความเป็นมาในประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างลาวกับประเทศเพื่อนบ้านทางด้านเศรษฐกิจ
จิตรกรรมวัดป่าฮวก ที่มา: http://www.sac.or.th |
จิตรกรรมบนหน้าบัน สิมวัดหาดเสี้ยว ที่มา: http://www.sac.or.th |
งานด้านประติมากรรมส่วนใหญ่ของลาวล้วนเกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางพุทธศาสนา ทั้งการแกะสลัก การปั้น-หล่อสำริด การปั้นปูน และการตกแต่งอาคารศาสนา เช่น การสร้างพระพุทธรูป รูปเทวดา นางอัปสรและยักษ์ ลวดลายกระหนก รูปสัตว์ พญานาคและลายเครือวัลย์ประดับตามศาสนสถาน ประติมากรรมพระพุทธรูปที่สำคัญของลาว เช่น พระบาง ปางห้ามญาติเป็นพระพุทธรูปประทับยืนตามแบบอย่างสกุลช่างบายนของขอม และยังมีลักษณะแบบศิลปะทวารวดี ในปัจจุบันมีการพัฒนาให้เป็นแบบชาติลาวมากขึ้น และปั้นตามแบบตะวันตกมากขึ้น แต่ยังคงยึดหลักความเป็นชาตินิยมเป็นสำคัญ เช่น อนุสาวรีย์หน้าพิพิธภัณฑ์แห่งชาติลาว เมืองเวียงจันทน์
พระบาง พระพุทธรูปสูงสุดในลาว ประดิษฐานอยู่ที่หอพระบาง ที่มา: http://www.sac.or.th |
ประติมากรรมร่วมสมัย เน้นความเป็นชาตินิยม อนุสาวรีย์อิสรภาพ ที่มา: http://www.aseanthai.net |
พระเจ้าองค์ตื้อ วัดโพนไชยเชษฐาธิราช ที่มา: http://www.sac.or.th |
สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนานิกายเถรวาท และการให้ความสำคัญกับความเป็นชาติลาว เช่น วัดพระธาตุหลวงที่ยอมรับกันว่าน่าจะตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2103 (ค.ศ. 1560) เป็นตัวอย่างของการถ่ายทอดคติทางพุทธศาสนา ที่คนลาวให้ความสำคัญกับการเป็นชนชาติลาว สถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นส่วนใหญ่จึงเป็นโบราณสถาน เช่น วัด เพราะถือว่าวัดเป็นสิ่งเชื่อมโยงระหว่างผู้คนในสังคมกับพุทธศาสนา
หอพระแก้ว เวียงจันทน์ ที่มา: http://www.sac.or.th |
อุโบสถวัดเชียงของ ที่มา: http://www.sac.or.th |
4. หัตถกรรม
หัตถกรรมที่สำคัญของลาว คึือ เครื่องปั้นดินเผา เมื่อสังคมลาวมีการตั้งถิ่นฐานใหม่ มักจะมีการตั้งเตาเผาเพื่อใช้ในการผลิตถ้วย ชาม รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้สอยในชีวิตประจำวัน และใช้สำหรับพิธีกรรมบวงสรวงวิญญาณบรรพบุรุษ ผีไท้ผีแถนและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่สูงกว่า เช่น โอ่ง กระถาง ไห เป็นต้น
หัตถกรรมที่สำคัญของลาว คึือ เครื่องปั้นดินเผา เมื่อสังคมลาวมีการตั้งถิ่นฐานใหม่ มักจะมีการตั้งเตาเผาเพื่อใช้ในการผลิตถ้วย ชาม รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้สอยในชีวิตประจำวัน และใช้สำหรับพิธีกรรมบวงสรวงวิญญาณบรรพบุรุษ ผีไท้ผีแถนและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่สูงกว่า เช่น โอ่ง กระถาง ไห เป็นต้น
เครื่องปั้นดินเผา บ้านจานเหนือ หลวงพระบาง ที่มา: http://www.louangprabang.net |
จากตัวอย่างงานศิลปะที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าสังคมลาวถูกหล่อหลอมขึ้นจากพื้นฐานทางวัฒนธรรมเป็นสำคัญ จึงทำให้เป็นสังคมที่มีความเรียบง่าย อยู่ด้วยกันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัยช่วยเหลือเกื้อกูลกันมาหลายทศวรรษ รวมทั้งยึดหลักการเกษตรกรรมแบบยังชีพและดำรงชีวิตตามหลักการวิถีทางพุทธศาสนา วิถีชีวิตผูกพันอยู่กับพุทธศาสนา จึงถ่ายทอดความเชื่อ ความศรัทธาผ่านงานทางด้านศิลปะที่เรียบง่ายและเป็นตัวของตัวเอง
อ้างอิง
ธีรภัทร ชัยพิพัฒน์. (2551). สังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง. กรุงเทพฯ: บริษัท มิสเตอร์ก๊อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด.
ประภัสสร์ ชูวิเชียร. (2557). ศิลปะลาว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด.
สงวน รอดบุญ. (2545). พุทธศิลปลาว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สายธาร.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น