วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561

บรูไน..เมืองแห่งอายรธรรมอิสลาม



ที่มา : https://bit.ly/2DflJzW
ประเทศบรูไน ประเทศมีความหมายว่า ดินแดนแห่งความสงบสุข บรูไนขึ้นชื่อในความร่ำรวยน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ที่นี่ยังนับศาสนาอิสลามนิกายซุนนี่ เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังมีนสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์งดงามและโดดเด่นมากไม่แพ้ประเทศใดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้



เขียนโดย จริยาภรณ์ เย็นจตุรัส
พรทิพย์ มั่นทับ


บรูไนแบ่งเขตปกครองท้องถิ่นโดยมีจังหวัดสำคัญ 4 จังหวัดได้แก่ 1.) Brunei- Muara จังหวัดที่มีประชากรอาศัยอยู่มากที่สุด มีท่าเรือและการขนส่ง  2.) Tutong จังหวัดที่เป็นเขตเกษตรกรรม 3.) Belait จังหวัดที่เป็นแหล่งขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ 4.) Temburong จังหวัดที่มีพื้นที่ป่าไม้และแหล่งน้ำ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของบรูไน


บรูไน (มลายู: Brunei) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เนอการาบรูไนดารุซซาลาม (มลายู: Negara Brunei Darussalam) ซึ่งมีความหมายว่า ดินแดนแห่งความสงบสุข  บันดาร์เสรีเบกาวันเป็นเมืองหลวง และเมืองท่าที่สำคัญของประเทศบรูไน

ที่มา : https://bit.ly/2Rit1pB


สาระความรู้  Trips For Brunei
เทศกาลงานประเพณี
บรูไนเป็นประเทศขนาดเล็กที่มีทรัพยากรน้ำมันมูลค่ามหาศาล เป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธราชย์ สุลต่านดำรงตำแหน่งทั้งประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหารของประเทศ
ตั้งอยู่ด้านเหนือของเกาะบอร์เนียว มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ดังนั้นงานประเพณีและพิธีกรรมส่วนใหญ่จึงเกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในบรูไน ก็มีวัฒนธรรมและประเพณีของตนเอง โดยจัดงานเฉลิมฉลองได้และรัฐยังประกาศให้เป็นวันสำคัญของพวกเขาเป็นวันหยุดราชการด้วย เช่น

1. เทศกาลอะเดา กะยอห์
ที่มา : https://bit.ly/2z6QmTL


เขตตูตงได้ชื่อว่าเป็นพื้นที่สีเขียวของบรูไน มีความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางธรรมชาติ โดยเฉพาะบริเวณทะเลสาบตาเซะก์ เมริมบุน  เทศกาลดังกล่าวเป็นประเพณีของชาวดูซุน ที่ยึดถือและส่งต่อกันจากรุ่นสู่รุ่น เพื่อแสดงความขอบคุณต่อพืชผลที่ได้เก็บเกี่ยวแล้ว ในงานมีการรวมตัวกันของผู้คนจำนวนมาก เพื่อฉลองจิตวิญญาณของความเป็นหนึ่ง ประเพณีนี้จัดขึ้นในวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี ที่หมู่บ้านเมอริมบัน มีกิจกรรมเป่าลูกดอก และการประกวดร้องเพลง


2. เทศกาลกาไว
ที่มา : https://bit.ly/2CKk4l9

กาไวเป็นพิธีกรรมหรือเทศกาลของชาวอิบานในเขตเตมบูรง ซึ่งตรงกับวันที่ 31 พฤษภาคมของทุกปี ก่อนถึงวันกาไว 1 วัน จะมีการต้มต๊วก (ไวน์ขาว) และทำขนมพื้นเมือง ซึ่งทำจากแป้ง น้ำตาล และกะทิ มีการนำเสื่อผืนใหม่มาปูลาดตลอดแนวความยาวของระเบียงในบ้านยาว ตกแต่งประดับประดาผนังและระเบียงด้วยผ้าโบราณอันสวยงาม ในตอนเย็นจะมีการปะโคมเกนดัง รายาห์หรือดนตรีที่ในพิธีกรรม และในเช้าวันที่ 1 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันกาไว จะมีกิจกรรม เช่น แข่งเป่าลูกดอก แสดงงาจาต ประกวดชุดคุมัง กาไว


วัฒนธรรมการกิน

ที่มา : https://bit.ly/2CKk4l9

บรูไนตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว โอบล้อมด้วยรัฐซาราวักของมาเลเซีย ทางเหนือติดทะเลจีนใต้ อาหารส่วนใหญ่เป็นอาหารฮาลาล เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่เป็นคนมุสลิม วัตถุดิบสำคัญจึงหลีกไม่พ้นเครื่องเทศและกะทิ แม้ว่าจะเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยอาหารทะเล แต่ชาวบรูไนนิยมรับประทาน เนื้อวัว เนื้อไก่ และเนื้อแพะมากกว่า สิ่งสำคัญที่สุดคือชาวบรูไนไม่บริโภคหมูและแอลกอฮอล์ เนื่องจากเป็นสิ่งต้องห้ามตามหลักศาสนาอิสลาม


1.อัมบูยัต (Ambuyat)
ที่มา : https://bit.ly/2yF99Gi

อาหารประจำชาติที่มีลักษณะเฉพาะตัว วัตถุดิบหลักคือ อัมบูลุง (Ambulong) เป็นแป้งสาคูละลายด้วยน้ำเย็นจากนั้นกวนในน้ำร้อนให้ข้นเหนียว รับประทานกับซอสผลไม้รสเปรี้ยวที่มีส่วนผสมของทุเรียน เรียกว่า จาจะห์(Cacah) หรือ ซอสกะปิ เรียกว่า เจินจาลู กับเครื่องเคียงอีกหลากชนิด เช่น เนื้อทอด และปลาทะเลห่อใบตองย่าง เป็นต้น

ซึ่งมีอุปกรณ์สำคัญในการรับประทานเรียกว่า จันดัส (Chandas) เป็นไม้สองง่าม ลักษณะคล้ายตะเกียบ แต่ปลายด้ามจับไม่แยกออกจากกัน เมื่อจะรับประทานให้ใช้ จันดัส ม้วนอัมบูลุง พอคำแล้วนำไปจิ้มน้ำซส รับประทานกับเครื่องเคียง ทั้งนี้เพื่อความอร่อยควรรับประทานในขณะที่อัมบูลุงยังร้อนอยู่
2. ดากิงมาสะก์ลาดาฮีตัม (Daging Masak Lada Hitam) หรือเนื้อวัวผัดพริกไทยดำ
ที่มา : https://bit.ly/2Ji39HB

มีวีธีการปรุงคือใช้เนื้อวัวคลุกเคล้ากับผงขมิ้นและเกลือ นำไปรวนจนแห้ง จากนั้นใส่น้ำมันเล็กน้อย ตามด้วยหอมหัวใหญ่ กระเทียม ขิง พริก และพริกไทยดำบดละเอียด แครอท ปรุงรสด้วยซอสถั่วเหลือง ซอสหอยนางรม ซอสพริก เติมน้ำเล็กน้อย ตามด้วยมะเขือเทศและโรยผักชี เป็นอันว่าพร้อมรับประทาน

3.  กูวิห์เปินยารัม (Kuihpenyaram)
ที่มา :  https://bit.ly/2Psd4QC
ขนมพื้นเมืองของชาวบรูไน พบได้ทั่วไปตามท้องตลาด ทำจากแป้งข้าวเจ้า แป้งสาลีเอนกประสงค์ และกะทิ นำไปทอดให้เป็นแผ่นกลมรับประทานกับน้ำเชื่อมที่ทำจากน้ำตาลปาล์ม



4.   เรินดัง (Rendang) หรือ เนื้อผัดเครื่องเทศ
ที่มา: https://bit.ly/2RolSEz

นิยมปรุงขึ้นในงานบุญประเพณี ประกอบไปด้วยวัตถุดิบสำคัญ อาทิ เนื้อวัว เนื้อแพะ เนื้อแกะ เนื้อไก่ เนื้อเป็ด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด หอมแดง พริก เคี่ยวด้วยไฟอ่อนจนเปื่อย


5. อูดังซัมบัลเซอไรเบอร์ซันตัน (Udang Sambal Serai Bersantan)
ที่มา :  https://bit.ly/2Psd4QC

ลักษณะคล้ายปูผัดผงกระหรี่ แต่สำหรับชาวบรูไนใช้กุ้งกุลาดำ ผัดกับวัมบัล หรือ น้ำพริก ใส่กระทtกระเทียม หอมหัวใหญ่ เพิ่มรสชาติด้วยเกลือและน้ำตาล รับประทานกับข้าวสวย


เกร็ดความรู้เกี่ยวกับบรูไน

สตรีชาวบรูไนจะแต่งกายมิดชิด นุ่งกระโปรงยาว เสื้อแขนยาว และมีผ้าโพกศีรษะ คนต่างชาติ จึงไม่ ควรนุ่งกระโปรงสั้น และใส่เสื้อไม่มีแขน เนื่องจากเป็นสีของสถาบันพระมหากษัตริย์ของบรูไนฯ และควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าลายรูปสัตว์หรือการให้ของขวัญที่มีรูปสัตว์

สีดำถือเป็นสีพิธีการของบรูไน หากจะเข้าร่วมพิธีใดที่เป็นทางการ สุภาพสตรีควรแต่งชุดสีดำที่มิดชิด หากเป็นไปได้ควรเป็นเสื้อแขนยาวและกระโปรงยาวคลุมข้อเท้า
ในทุกวันศุกร์ ระหว่างเวลา 12.00 – 14.00 น. ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร ร้านค้าทุกแห่งจะปิดการให้บริการชั่วคราวตามกฎหมาย ควรวางแผนล่วงหน้าหากต้องรับประทานอาหารกลางวันนอกสถานที่

สถานที่ท่องเที่ยวในบรูไน

1.  มัสยิดโอมาร์ อาลี ไซฟัดดิน
มัสยิดสุลต่าน โอมาร์ อาลี ไซฟุดดิน (Sultan Omar Ali Saifuddien Mosque) เป็นมัสยิดใจกลางเมืองหลวง บันดาร์เสรีเบกาวัน สำหรับชื่อมัสยิดนั้นตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ สุลต่าน โอมาร์ อาลี ไซฟุดดิน ซึ่งเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 28 ของบรูไน ตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำบรูไน มีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นและสวยงามมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ภายนอกมีสัญลักษณ์ที่เด่นชัดมาก คือ โดมทองคำ ที่ตั้งตระหง่านอยู่บนยอดสูงสุดของมัสยิด หออะซานหินอ่อน ภายในมัสยิดประดับตกแต่งด้วยหินอ่อนและกระเบื้องสีอย่างเรียบง่าย เหมาะสมสำหรับสถานที่ในการสวดมนต์ขอพร และยังใช้เป็นเวทีประกวดอ่านคัมภีร์อัลกุรอาน เป็นงานสถาปัตยกรรมของมัสยิดแห่งนี้เป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบอิสลามกับสถาปัตยกรรมอิตาลี ได้รับการขนานนามว่า มินิทัชมาฮาลอีกด้วย
ที่มา : https://bit.ly/2qfMLP7

2.พระราชวัง Istana Nurul Iman
ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในโลก พระราชวัง Istana Nurul Iman เอกลักษณ์ทางสถาปัตถยกรรมของบรูไนที่มีความงามโดดเด่น พระราชวังสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1987 ภายในพระราชวังถูกตกแต่งอย่างประณีตด้วยวัสดุชั้นเลิศและทองคำแท้ ประกอบไปด้วยห้องต่างๆ 1,788 ห้อง, ห้องน้ำ 257 ห้อง และ 5 สระน้ำ

นอกจากนี้ ออกแบบโดยสถาปนิกชาวฟิลิปปินส์ ลี Locsin เป็นทั้งทำเนียบรัฐบาลและใช้สำหรับต้อนรับบุคคลสำคัญจากต่างประเทศที่มาเยือน ในโรงรถมีราชรถแบบสุดหรูกว่า 5000 คัน มี Bentleys ทำด้วยทองคำ เฟอร์รารี่และ Rolls Royces ซึ่งสั่งทำพิเศษคันเดียวในโลก นอกจากนั้นยังมีเครื่องบินโบอิ้ง 747-400 มูลค่ากว่า 200 ล้านดอลลาร์ เครื่องบินส่วนพระองค์อีก 6 ลำ พระราชวังแห่งนี้เปิดให้เข้าชมเพียงปีละครั้งหลังเดือนรอมฎอน หรือหลังพิธีถือศีลอดเป็นต้นไป

ที่มา  : https://bit.ly/2OObn0e

3.อนุสาวรีย์น้ำมันหนึ่งล้านบาร์เรล (Billionth Barrel Monument)
บรูไนขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศส่งออกน้ำมันอันดับต้น ๆ ของโลก บรูไนจึงสร้างอนุสาวรีย์ Billionth Barrel Monument ขึ้นที่เมืองซีเรีย เพื่อเป็นการฉลองความมั่งคั่งของประเทศที่เป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ และที่สำคัญยังมีการขุดเจาะและค้นพบแหล่งน้ำมันอีกเรื่อย ๆ  ทั้งนี้อนุสาวรีย์ Billionth Barrel Monument ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1991 เนื่องจากเป็นปีประวัติศาสตร์สำคัญที่บรูไนสามารถผลิตน้ำมันได้สูงถึง 1 พันล้านบาร์เรล และเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความมั่งคั่งของประเทศนี้ด้วย
ที่มา : https://bit.ly/2Aushsa

4. หมู่บ้านกลางน้ำกัมปง ไอเยอร์ อายเย่อร์ที่มีอายุเกือบ 1,500 ปีตั้งอยู่ระหว่างเขตบรูไนและ Muarในกรุงบันดา เสรี เบกาวัน เป็นความภาคภูมิใจของชาวบรูไน ในช่วงที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดตั้งแต่ปี 1,482 ถึงปี 1,524 กัมปง อายเย่อร์เป็นศูนย์ราชการ เป็นนครหลวงของจักรวรรดิ์บรูไน เป็นท่าเรือที่สำคัญของภูมิภาคและเป็นจุดรวมของพ่อค้าแม่ค้าจากตะวันตก จีน กัมพูชาและประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ  ปัจจุบันหมู่บ้านแห่งนี้มีประชากรกว่า 3 หมื่นคนคิดเป็นเกือบร้อยละ 10ของจำนวนประชากรบรูไนและเป็นสถานที่ที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมริมน้ำของประเทศนี้อย่างชัดเจนที่สุด ด้วยเหตุนี้หมู่บ้านแห่งนี้จึงสร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยวภูมิภาคและโลกเพราะความที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง
ที่มา : https://bit.ly/2z6SA5J




อ้างอิง

จากเว็บไซต์
ฐานข้อมูลสังคม-วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. (2559). บรูไน-ประเพณีพิธีกรรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2561 จาก https://bit.ly/2OfUsP0.
ฐานข้อมูลสังคม-วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. (2559). บรูไน-อาหาร. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2561 จาก https://bit.ly/2CNxBYW.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. บรูไน. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2561. จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศบรูไน.
ศูนย์วัฒนธรรมฯ มหาวิทยาลัยคริสเตียน. วัฒนธรรมอาเซียน ประเทศบรูไน. (ออนไลน์.). สืบค้นเมื่อวันที่ 18ตุลาคม 2561 จาก https://bit.ly/2AzXrOO.
สถานเอกอัครราชทูต ณ บันดาร์เสรีเบกาวัน.(2557). ข้อควรระวังในการเดินทางเข้าประเทศบรูไนฯ. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2561 จาก https://bit.ly/2AADTK0.


จากหนังสือ

กวิตา ถนอมงาม. เซอลามัต ดาตัง บรูไน. (2555). ปทุมธานี; สกายบุกส์
วิทยา มิตรศรัทธา. (มปป). ประเทศบรูไน. กรุงเทพฯ : เจเนซิส มีเดียคอม จำกัด.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น