วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2563

SEAS-KKU สำรวจแหล่งโบราณสถานจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดสระบุรี ประจำปี 2563

หลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดกิจกรรรมสำรวจแหล่งโบราณสถานที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดสระบุรี ระหว่างวันที่ 10-12 ตุลาคม 2563 เป็นเวลา 3 วัน 2 คืน โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการนำเที่ยว การพูดและการแก้ไขปัญหา เพื่อการเตรียมตัวสำหรับการเป็นมัคคุเทศก์อาชีพในอนาคต  โดยให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ตรงจากสถานที่จริง ซึ่งการจัดการศึกษาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งในรายวิชา “มัคคุเทศก์ทางประวัติศาสตร์” ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 เอกประวัติศาสตร์ จำนวน 19 คน ซึ่งการศึกษาครั้งนี้อยู่ในความดูแลของอาจารย์ประจำวิชา อาจารย์ ดร.จิราธร ชาติศิริ อาจารย์ ดร.ณหทัย มานาดี และอาจารย์ ดร.ธรรม์ธเนศ ปุณณ์ธนามหาการุณ และมีนักศึกษาชั้นปีที่ 4 อีก 7 คน เข้าร่วม รวมทั้งสิ้น 29 คน  

รายงานโดย จุฑารัตน์ สุขทองสา

ภาพโดย ปฏิมากร มาดี และ อาจารย์ ดร.จิราธร ชาติศิริ


กิจกรรมวันที่ 1 เดินทางออกจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นในเวลา 06:00 น. มุ่งหน้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในระหว่างการเดินทางนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ได้เริ่มทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์ โดยเริ่มจากการเช็กชื่อ แจกแทร็กกระเป๋าและนับจำนวนคน มีฝ่ายสวัสดิการตลอดการเดินทางทั้งหมด 3 วัน  มีการทำหน้าที่ในการเปิดทัวร์ในการกล่าวต้อนรับลูกทัวร์ทุกคน ระหว่างการเดินทางถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีฝ่ายสันทนาการที่ได้มอบความสนุกให้แก่ทุกคน ถือเป็นการเริ่มต้นกิจกรรมและการเดินทางที่ดี ในเวลา 12:00 น. เดินทางถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รับประทานอาหารกลางวัน จากนั้นในเวลา 13:00 น. เดินทางไปที่สถานที่แรก “พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา” โดยมีมัคคุเทศ์ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความรู้ความเข้าใจถึงประวัติความเป็นมาในอดีต สถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรมของโบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 



สถานที่แรกสำหรับแหล่งโบราณสถานคือ “วัดมหาธาตุ” วัดที่เป็นที่เก็บพระบรมสารีริกธาตุ และเป็นวัดที่มีเอกลักษณ์อย่างเจดีย์แปดเหลี่ยม โดยเป็นวัดที่เป็นที่นิยมแก่นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ อีกจุดเด่นของวัดมหาธาตุคือ เศียรพระพุทธรูปที่ถูกรากไม้ห่อหุ้ม มีความสวยงามมากเป็นธรรมาติ และสถานที่สุดท้ายสำหรับวันนี้คือ “วัดราชบูรณะ” เป็นวัดที่อยู่ใกล้กับวัดมหาธาตุ ซึ่งวัดนี้มีตำนานการโจรกรรมขุดกรุที่มีชื่อเสียง และมีเอกลักษณ์ในด้านสถาปัตยกรรมที่มีรูปครุฑอยู่บนพระปรางค์ 

สำหรับกิจกรรมวันที่ 2 นั้นมีสถานที่ที่เดินทางไปสำรวจหลายที่ด้วยกัน ได้แก่ โบสถ์นักบุญเซนโยเซฟต์ หมู่บ้านญี่ปุ่น และวัดพนัญเชิง ในช่วงเช้า รับประทานอาหารที่หน้าวัดใหญ่ชัยมงคล และต่อด้วยสถานที่ต่อไปคือวัดใหญ่ชัยมงคล วัดพระศรีสรรเพชญ์ พระราชวังหลวงและสถานที่สุดท้ายสำหรับวันนี้คือ วัดไชยวัฒนาราม ซึ่งในแต่ละสถานที่นักศึกษาชั้นปีที่  3 ได้ทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์ประจำในแต่ละสถานที่ซึ่งถือว่าได้รับประสบการณ์จากการลงภาคสนามอย่างแท้จริง  

โบสถ์นักบุญเซนต์โยเซฟ ถือว่าเป็นโบสถ์ของศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกแห่งแรกในประเทศไทย

หมู่บ้านญี่ปุ่น เป็นหมู่บ้านที่ตั้งมาตั้งแต่ในสมัยอยุธยามีการบอกกเล่าถึงวิถีชีวิตในยุคนั้น โดยภายในมีพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรวบรวมหลักฐานทางโบราณวัตถุไว้

  

รูปซ้ายหลวงพ่อโตที่วัดพนัญเชิงโดยเป็นพระพุทธรูปที่เป็นที่นิยมกราบไหว้ทั้งชาวไทยและชาวจีน รูปขวาคือพระพุทธรูปนอนที่วัดใหญ่ชัยมงคลก็ถือว่าเป็นที่นิยมสักการะเช่นกัน

 

รูปซ้ายวัดพระศรีสรรเพชญ์เป็นวัดที่สร้างขึ้นในพื้นที่พระบรมราชวังหลวง โดยสถานที่ใกล้เคียงคือพระราชวังหลวง รูปขวาคือวัดไชยวัฒนารามเป็นวัดที่คาดว่าสร้างแบบไตรภูมิและมีการเก็บพระศพของเจ้าฟ้ากุ้ง

กิจกรรมวันสุดท้ายคือเดินทางไปที่ปราสาทนครหลวง ซึ่งเป็นที่สุดท้ายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและเดินทางไปต่อที่สระบุรี เพื่อชมพระพุทธบาทสระบุรี จากนั้นมัคคุเทศก์จำลองมีการปิดทัวร์ว่าได้อะไรจากการเดินทางครั้งนี้และเดินทางกลับสู่มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยสวัสดิภาพในเวลา 20:00 น.


รูปปราสาทนครหลวงถือว่ามีรอยพระพุทธบาทจำลองสี่รอย โดยเป็นปราสาทที่มีการสร้างไม่เสร็จแต่ได้มีการบูรณะใหม่ภายใน  


รอยพระพุทธบาทที่พระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี เป็นรอยพระพุทธบาทจำลองที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าทรงธรรมในสมัยอยุธยา ซึ่งเป็นที่สักการะแก่พสกนิกรจนถึงในสมัยรัตนโกสินทร์ที่ยังคงมีความสวยงามและเป็นสถานที่ยอดนิยมอีกแห่งหนึ่งที่น่ามาเยือน

สำหรับการเดินทางสำรวจแหล่งโบราณสถานที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดสระบุรีตลอด 3 วันที่ผ่านมานั้นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 เอกประวัติศาสตร์ทุกคนได้รับประสบการณ์ในด้านใหม่ๆ จากการลงสถานที่จริง ซึ่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเน้นใช้ชีวิตแบบวิถีชีวิตที่มีความเรียบง่าย ผู้คนใช้ชีวิตติดริมแม่น้ำที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญในการใช้ชีวิตของผู้คนเหล่านั้น ซึ่งพวกเรานักศึกษาชั้นปีที่ 3 ยังคงได้เห็นวิถีชีวิตดั้งเดิม ได้ฝึกบุคลิกภาพในการทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์ที่ดี และที่สำคัญคือ การรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายของตนเองอย่างดีที่สุดตลอดการเดินทาง การเรียนรู้จากประสบการณ์ครั้งนี้ตลอดการเดินทางที่ช่วยสอนให้พวกเราได้รับเทคนิคในด้านการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ไหวพริบต่างๆ และประสบการณ์จากการเดินร่วมกับเพื่อนๆ คนอื่น ที่พร้อมจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ดีระหว่างนักศึกษาทุกคน 







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น