วัดพระพายหลวง เป็นวัดสำคัญและเป็นหนึ่งในโบราณสถานของสุโขทัยที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน
กว่า 700 ปีตั้งแต่ก่อนสถาปนาราชธานีสุโขทัยขึ้นมา อีกทั้งยังเคยเป็นศูนย์กลางอันศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเขมรของชุมชนบริเวณนี้ มีความโดดเด่นด้วยสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่ที่สุดคือ
พระปรางค์สามองค์ ปัจจุบันพังทลายลงเหลือเพียงฐาน 2 องค์และมีเพียงองค์ทางด้านทิศเหนือเท่านั้นทียังสมบูรณ์ หากใครมีโอกาสได้แวะเวียนมาที่สุโขทัย อย่าลืมเข้ามาเยี่ยมชมสถานที่ที่มีร่องรอยประวัติศาสตร์ความเป็นมามากมายแห่งนี้กันนะคะ
เรียบเรียงโดย พรทิพย์ มั่นทับ
"การเรียนรู้นอกสถานที่ที่วัดพระพายหลวง ซึ่งเป็นหนึ่งในโบราณสถานที่ตั้งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2562 เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 428 333 แหล่งท่องเที่ยวตามประวัติศาสตร์ไทย (Historical Sites in Thai History) ทางหลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดขึ้นสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 เอกประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวตามยุคทางสมัยประวัติศาสตร์นอกสถานที่ ถือได้ว่าเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ผ่านการฝึกเป็นมัคคุเทศก์ และการฝึกใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว"
พวกเราเริ่มต้นการเดินทางในตอนเช้าด้วยการไปเยือนศูนย์กลางเมืองเดิมก่อนสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย สถานที่แห่งนั้นคือ วัดพระพายหลวง ซึ่งตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือ ในเขตเมืองเก่าสุโขทัย ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 26 ไร่ วัดแห่งนี้เชื่อว่าเคยเป็นศูนย์กลางของเมืองเก่าสุโขทัย ที่ล้อมรอบด้วยคูน้ำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยคูน้ำนี้เรียกกันว่า "แม่โจน" และน่าจะสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เนื่องจากมีพระปรางค์ที่ประดับตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นที่เป็นศิลปะแบบขอมสมัยบายน
ประวัติวัดพระพายหลวง
วัดพระพายหลวงเดิมเชื่อว่าเป็นเทวสถาน เนื่องจากพบชิ้นส่วนของเทวรูปและฐานศิวลึงค์ ต่อมาปรับเปลี่ยนเป็นวัดในพระพุทธศาสนานิกายมหายานในราวพุทธศตวรรษที่ 18 และสิ่งที่เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าชุมชนสุโขทัยมีวัฒนธรรมร่วมกับเขมรในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 คือ ลวดลายปูนปั้นประดับเล่ารื่องตามพุทธประวัติเหมือนกับที่ปราสาทปาลิไลย์ในเมืองพระนครหลวงของเขมร และมีความเกี่ยวข้องกับเมืองละโว้ (ลพบุรี) เมืองใหญ่ที่เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมเขมรในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลาง อย่างไรก็ตาม งานศิลปะลวดลายปูนปั้นในวัดพระพายหลวง ส่วนใหญ่ถูกย้ายไปจัดเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง จังหวัดสุโขทัย
สำหรับชื่อวัดนั้น ปรากฏอยู่ในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) เรื่อง "เที่ยวเมืองพระร่วง" ว่ามาจากชื่อที่ชาวบ้านเรียกกัน
วัดพระพายหลวง ตั้งอยู่ใกล้กับศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่เป็นอันดับสองรองจากวัดมหาธาตุ ปัจจุบันยังเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่อาศัยอีกด้วย วัดนี้ถือได้เป็นวัดที่เก่าแก่ และมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์สุโขทัยเป็นอย่างมาก เพราะมีสิ่งก่อสร้างในรูปแบบสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของเมืองสุโขทัยและมีการบูรณะต่อเติมเรื่อยมาจนถึงสมัยสุโขทัยตอนปลาย
ลักษณะแผนผังของวัดพระพายหลวง ตั้งอยู่บนพื้นที่ค่อนไปทางทิศตะวันตกของตัวเมืองเก่าสุโขทัย มีคูน้ำล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า นอกจากนี้ยังมีคันดินล้อมตามแนวทิศตะวันออกอันเป็นด้านหน้าของวัด ตามศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงได้มีการกล่าวถึง การสร้างคูเมืองสามชั้นว่าเป็นการช่วยชะลอและผันน้ำ เพราะพื้นที่ตั้งเมืองสุโขทัยเป็นที่ราบเชิงเขา หากพิจารณาแล้วจะพบว่า กำแพงเมืองสุโขทัยถูกสร้างขึ้นภายหลังเมืองโบราณที่มีวัดพระพายหลวงเป็นศูนย์กลาง ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบศิลปกรรมด้วย
วัดพระพายหลวงเดิมเชื่อว่าเป็นเทวสถาน เนื่องจากพบชิ้นส่วนของเทวรูปและฐานศิวลึงค์ ต่อมาปรับเปลี่ยนเป็นวัดในพระพุทธศาสนานิกายมหายานในราวพุทธศตวรรษที่ 18 และสิ่งที่เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าชุมชนสุโขทัยมีวัฒนธรรมร่วมกับเขมรในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 คือ ลวดลายปูนปั้นประดับเล่ารื่องตามพุทธประวัติเหมือนกับที่ปราสาทปาลิไลย์ในเมืองพระนครหลวงของเขมร และมีความเกี่ยวข้องกับเมืองละโว้ (ลพบุรี) เมืองใหญ่ที่เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมเขมรในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลาง อย่างไรก็ตาม งานศิลปะลวดลายปูนปั้นในวัดพระพายหลวง ส่วนใหญ่ถูกย้ายไปจัดเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง จังหวัดสุโขทัย
สำหรับชื่อวัดนั้น ปรากฏอยู่ในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) เรื่อง "เที่ยวเมืองพระร่วง" ว่ามาจากชื่อที่ชาวบ้านเรียกกัน
ลวดลายปูนปั้น |
วัดพระพายหลวง ตั้งอยู่ใกล้กับศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่เป็นอันดับสองรองจากวัดมหาธาตุ ปัจจุบันยังเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่อาศัยอีกด้วย วัดนี้ถือได้เป็นวัดที่เก่าแก่ และมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์สุโขทัยเป็นอย่างมาก เพราะมีสิ่งก่อสร้างในรูปแบบสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของเมืองสุโขทัยและมีการบูรณะต่อเติมเรื่อยมาจนถึงสมัยสุโขทัยตอนปลาย
ลักษณะแผนผังของวัดพระพายหลวง ตั้งอยู่บนพื้นที่ค่อนไปทางทิศตะวันตกของตัวเมืองเก่าสุโขทัย มีคูน้ำล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า นอกจากนี้ยังมีคันดินล้อมตามแนวทิศตะวันออกอันเป็นด้านหน้าของวัด ตามศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงได้มีการกล่าวถึง การสร้างคูเมืองสามชั้นว่าเป็นการช่วยชะลอและผันน้ำ เพราะพื้นที่ตั้งเมืองสุโขทัยเป็นที่ราบเชิงเขา หากพิจารณาแล้วจะพบว่า กำแพงเมืองสุโขทัยถูกสร้างขึ้นภายหลังเมืองโบราณที่มีวัดพระพายหลวงเป็นศูนย์กลาง ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบศิลปกรรมด้วย
แผนผังสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัดพระพายหลวง
|
นอกจากนี้ยังมีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญคือ พระปรางค์ 3 องค์ ที่สร้างเรียงรายจากเหนือจรดใต้ มีเทคนิคการก่อศิลาแลงแบบเรียงซ้อนกันขึ้นไปโดยสันของศิลาแลงไม่เหลื่อมกันมากนัก อีกทั้งยังมีการใช้ลวดลายปูนปั้นประดับตามเทคนิคการก่อสร้างในสมัยเขมรแบบบายน ปัจจุบันพระปรางค์องค์ทางเหนือมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ สำหรับพระปรางค์องค์ทางทิศใต้นั้นชำรุดหลือเพียงส่วนฐาน แต่ยังคงหลงเหลือลวดลายปูนปั้นอยู่บ้าง และพระปรางค์องค์กลางมีร่องรอยของการก่อศิลาแลงปิดประตูด้านทิศตะวันออกเพื่อให้ด้านทิศตะวันตกเป็นประตูทางเข้าแทน แสดงให้เห็นแล้วว่าพื้นที่นี้เคยเป็นศูนย์กลางของอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรมาก่อนที่จะมีการสถาปนาสุโขทัย
พระปรางค์ทั้ง 3 องค์ |
ถัดจากทางด้านทิศตะวันออกของพระปรางค์แล้วยังมี วิหาร ที่สร้างต่อเนื่องออกมา เป็นวิหาร 6 ห้อง ส่วนบนของวิหารพังทลายลงหมดแล้ว เหลือเพียงแนวเสาก่อด้วยศิลาแลงที่มีรูเจาะไว้ตอนบนของเสาแสดงถึงโครงสร้างหลังคาที่เคยเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง และจากรูที่เหลืออยู่ระดับคานคงพ้นความสูงของคนมาเพียเล็กน้อย ทั้งนี้การลาดต่ำของชายคาอาจสร้างเพื่อกันฝนสาดเข้ามาภายในอาคาร
วิหารที่เหลือเพียงเสาศิลาแลง |
นอกจากมีวิหารที่ปรากฏเพียงเสาศิลาแลงแล้ว ยังมีสิ่งก่อสร้างที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลศิลปะแบบขอมที่มีอย่างต่อเนื่อง คือ เจดีย์ทรงเหลี่ยมแบบปิรามิดหรือในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่ประดับทุกด้านด้วยซุ้มพระพุทธรูปลดหลั่นเป็นชั้นๆ ขึ้นไป เหมือนกับเจดีย์กู่กุดจังหวัดลำพูน อีกทั้งยังถูกล้อมรอบด้วยระเบียงคดที่ยังคงเหลือส่วนฐานให้เห็น นอกจากนี้ เจดีย์ยังมีหลักฐานการก่อสร้างทับซ้อนกันหลายสมัย เช่น มีพระพุทธรูปในซุ้มเป็นแบบหมวดวัดตระกวนหรือหมวดเบ็ดเตล็ดอยู่ภายใน ถูกปิดและซ้อนทับอยู่ด้วยพระพุทธรูปหมวดใหญ่อันเป็นที่รู้จักกันทั่วไป
เจดีย์ทรงเหลี่ยมแบบปิรามิด |
ทางด้านหน้าสุดของวัดยังมีกลุ่มอาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสี่อิริยาบถ ซึ่งก็คือ มณฑปพระสี่อิริยาบถ ได้แก่ ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นการก่ออิฐถือปูน อันเป็นพระพุทธรูปที่นิยมสร้างในสมัยสุโขทัย นอกจากนี้พระมณฑัปยังปรากฏร่องรอยของลวดลายปูนปั้นเป็นรูปเทวดาประนมมือ ปัจจุบันพังทลายลงมาเกือบหมดแล้ว และจากที่ปรากฏด้านที่เห็นนี้ในรูปนี้คืออิริยาบถในท่ายืน
มณฑปพระสี่อิริยาบถ |
นอกจากนี้ ภายในวัดพระพายหลวงยังมีอุโบสถ วิหาร และเจดีย์แบบต่าง ๆ อีกราว 30 องค์ โดยอาจจะเป็นงานที่ก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นมาในภายหลัง ซึ่งพระอุโบสถนี้ก่อด้วยอิฐ มีบันไดทางขึ้นด้านหน้าทั้งสองข้าง เสาภายในก่อด้วยศิลาแลง บริเวณด้านหลังเป็นที่ตั้งของฐานชุกชี มีใบเสมาปักอยู่โดยรอบพระอุโบสถ และเป็นที่น่าสังเกตว่าที่ขอบวิหารนอกสุดของลานศิลาแลงแต่ละด้าน จะพบเห็นเจดีย์ทรงระฆังขนาดเล็กที่ก่อด้วยศิลาแลง สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ตั้งเรียงรายเป็นแนวขนานกันไปทั้งสองด้าน โดยเจดีย์แต่ละองค์จะมีฐานบัวค่อนข้างสูง องค์ระฆังมีลักษณะคอดที่ส่วนล่าง โป่งที่ส่วนบน เหนือองค์ระฆังไม่มีบัลลังก์ มีเพียงปล้องไฉนที่ดูคล้ายฉัตรซ้อนกันต่ยอดด้วยปลีสั้นทรงกรวยแหลมเท่านั้น
อุโบสถวัดพระพายหลวง |
เจดีย์ทรงระฆังขนาดเล็กก่อด้วยศิลาแลง |
หากคุณมีโอกาสได้แวะมาเยี่ยมชมวัดแห่งนี้จะรับรู้และสัมผัสได้ถึงความยิ่งใหญ่
ความสวยงามของศิลปะสมัยเขมรแบบบายน และความเกรียงไกรของอาณาจักรไทยในอดีตอย่างราชธานีสุโขทัย
นอกจากนี้วัดแห่งนี้ยังผ่านการก่อสร้างต่อเติมมาเรื่อ ๆ นับตั้งแต่อดีต จะเห็นได้จากร่องรอยที่หลงเหลืออยู่ เช่น ลวดลายปูนปั้นประดับบนกรอบหน้าบันของประตูทางทิศเหนือและทิศใต้ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสมัยเขมรแบบบายน
วัดพระพายหลวง เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ อีกทั้งปัจจุบันยังเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่อาศัยอีกด้วย ถือได้เป็นวัดที่เก่าแก่และมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์สุโขทัยเป็นอย่างมาก มีความโดดเด่นพระปรางค์ 3 องค์ ถึงแม้ไม่สมบูรณ์ทั้งหมด แต่ก็ยังมีความงดงามมากมายที่ซุกซ่อนไว้รอให้เรามาค้นหาคำตอบอยู่
การเดินทาง
จากศาลากลางจังหวัดสุโขทัยไปทางทิศตะวันตก ตามทางหลวงแผ่นดินสาย ๑๖ ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร
เปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น.
เปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น.
อัตราค่าเข้าชม: นักท่องเที่ยวชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท และนักท่องเที่ยวสามารถเข้าดูได้ทุกวัย
ช่องทางการติดต่อ
อ้างอิง
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. [ม.ป.ป.]. วัดพระพายหลวง. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2562 จาก https://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/4003
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัมนธรรม กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. [ม.ป.ป.]. วัดพระพายหลวง. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2562 จาก https://bit.ly/2I0n3s9
ภาวิณี รัตนเสรีสุข. (2551). วัดพระพายหลวง: แนวคิดใหม่จากผลการขุดตรวจทางโบราคดีกับงานวิเคราะห์แบบอย่างสถาปตยกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มานพ ถนอมศรี. (2546). สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์: มรดกโลก. กรุงเทพฯ: พี พีเวิลด์ มีเดีย.
ช่องทางการติดต่อ
ที่อยู่: อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยโบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านเหนือ ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 64120
เบอร์ติดต่อ: 055-697310
เว็บไซต์: www.sukhothai.go.th
อีเมล: sukhothai_his@hotmail.com
อ้างอิง
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. [ม.ป.ป.]. วัดพระพายหลวง. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2562 จาก https://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/4003
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัมนธรรม กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. [ม.ป.ป.]. วัดพระพายหลวง. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2562 จาก https://bit.ly/2I0n3s9
ภาวิณี รัตนเสรีสุข. (2551). วัดพระพายหลวง: แนวคิดใหม่จากผลการขุดตรวจทางโบราคดีกับงานวิเคราะห์แบบอย่างสถาปตยกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มานพ ถนอมศรี. (2546). สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์: มรดกโลก. กรุงเทพฯ: พี พีเวิลด์ มีเดีย.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น