หลังจากการบรรยายพิเศษช่วงเช้าเสร็จสิ้น ทางชุมนุมอาเซียนได้ส่งตัวเเทนนักศึกษาพาวิทยากร คุณใบพัด นบน้อม ไปชมสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นจุดเด่นของจังหวัดขอนแก่นในช่วงบ่าย โดยมีตัวแทนนักศึกษาเป็นผู้นำชม
โดย คุณาสิน ลุนพุฒ
"โครงการสร้างเเรงบันดาลใจ จุดประกายฝัน SEAsTalks x KKU inspired by "คุณใบพัด นบน้อม" นักทำบทสัมภาษณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นโครงการที่จัดขึ้นโดยชุมนุมอาเซียน และหลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ระหว่างเวลา 9.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุม 2 อาคาร HS.05 คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น"สถานที่แรกที่พวกเราพาไปเยี่ยมชม คือ ศาลเจ้าพ่อมอดินแดง เมื่อมาถึงมหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้วหากไม่ได้มาไหว้ศาลเจ้าพ่อมอดินแดง ก็เรียกได้ว่ายังมาไม่ถึงมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพราะศาลเจ้าพ่อมอดินแดงนั้นถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำมหาวิทยาลัยมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง และนักศึกษาทุกคนได้ชื่อว่าเป็นลูกเจ้าพ่อมอดินแดง ดังนั้นเมื่อมาเยือนมหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้ว จึงต้องมากราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง
เรียกได้ว่าพี่เป็นทาสแมวคนหนึ่งเลย ทำไมพี่ถึงชอบแมวคะ
"ตอนเด็กๆ ที่บวชเรียน ในวัดมีแมวอยู่ก็ชอบไปเล่นกับมัน พอโตขึ้นมาก็ห่างๆ จากมันไปจนมีโอกาสได้ลูกแมวจากเพื่อนชาวปารีสก็เลยกลับมาชอบอีกครั้งประกอบกับกระแสคนรักแมวกำลังมา แต่รวมๆ แล้ว ที่ชอบแมวอาจเป็นเพราะความผูกพันธ์มากกว่า "ในฐานะที่พี่เป็นคนชอบตั้งคำถามกับคนอื่น เวลาที่มีคนมาตั้งคำถามกับพี่ แล้วพี่ตอบไม่ได้ พี่ทำอย่างไรคะ
"ความจริงคำถามบางคำถามที่เรายังหาคำตอบให้ไม่ได้ ให้ใช้วิธีทวนคำถามหรือดึงตัวคำถามนั้นแหละ กลับมาถามเขาอีกที โดยการทวนคำถามเหมือนเป็นการยื้อเวลาให้เราได้คิดหาคำตอบพร้อมๆ กับทำความเข้าใจในตัวคำถามไปด้วย ส่วนการดึงคำถามของเขาให้เกิดเป็นคำถามใหม่แล้วโยนกลับไปที่เขา เป็นการเบี่ยงประเด็นคำถามที่เขาถามเราให้กลับกลายไปเป็นคำถามของเขาแล้วให้เขาตอบเอง " แถมยังบอกพวกเราอย่างติดตลกด้วยว่า "ขอเมล์หน่อยได้ไหม ถ้าได้คำตอบแล้วเดี๋ยวพี่ส่งมาให้ "เวลาที่พี่ไปสัมภาษณ์แล้วเกิดอคติต่อความคิดของเขา พี่จัดการมันอย่างไรคะ
"ด้วยความที่พี่บวชเรียนตั้งแต่เด็ก จึงพอที่จะมีภูมิคุ้มกันอยู่บ้าง เราต้องโฟกัสไปที่เขาก็เป็นแค่มนุษย์คนหนึ่ง มีกิเลสเหมือนกันเป็นธรรมดา เราต้องพยายามตัดความรู้สึกส่วนตัวออกไป แล้วโฟกัสที่งาน ที่ประเด็นที่เราถามเขา ที่คำถามไม่ใช่ที่ตัวบุคคล"ตอนที่พี่เห็นงานตัวเองครั้งแรก พี่รู้สึกอย่างไร ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยได้ไหมคะ
"พี่รู้สึกมีความสุขนะ ที่เห็นคอลัมน์ของตัวเองตีพิมพ์ แม้จะเป็นคอลัมน์เล็กๆ ก็ตาม " แล้วรู้สึกกลัวหรือกังวลไหมคะถ้าเกิดผลงานเราไม่มีคนชอบ " สำหรับพี่พี่ไม่กังวลนะ เพราะเราชอบแบบนี้และเชื่อว่าก็คงมีคนที่ชอบเหมือนๆ กันกับเรา เทียบง่ายๆ กับการโพสต์ลง Facebook แหละ พี่ยอมรับนะว่าพี่เป็นคนติด Social แต่ก็พยายามเบรกๆ ไว้ ไม่ว่าเราจะโพสต์อะไรลงไปจะมีใคร like หรือเปล่าไม่รู้ เรา like ตัวเองก็พอ "ในแต่ละวันพี่ตั้งเป้าหมายให้ตัวเองไหมคะ ว่าวันนี้จะทำอะไร หรือว่าอยากทำอะไรก็ทำโดยไม่มี plan ไว้เลย
"ความจริงอาจจะเห็นพี่ดูชิลๆ นะเหมือนไม่มีงานแต่ความจริง พี่เป็นคนชอบทำงานมาก ต้องหากิจกรรมหรือหาอะไรทำตลอดเวลา ไม่ชอบอยู่ว่างๆ "อะไรที่ทำให้พี่รู้ว่าพี่อยากเป็นนักสัมภาษณ์แล้วถ้าพี่ไม่ได้เป็นนักสัมภาษณ์พี่คิดไว้ไหมคะ ว่าอยากเป็นอะไร
"ตอนเด็กๆ ที่บวช อยู่ที่วัดมีคนหลากหลายอายุ หลากหลายประสบการณ์ ไม่ว่าจะเป็นหลวงตา หลวงพี่ ชาวบ้านทั่วไป เณรด้วยกันหรือแม้แต่แม่ชีเองก็มีส่วนที่ทำให้พี่เป็นคนชอบพูด ชอบคุย ชอบถาม เพราะแต่ละคนที่เจอประสบการณ์ วุฒิภาวะของเขาก็ไม่เท่ากันเราได้คุยกับเขาก็เหมือนได้ประสบการณ์ไปด้วย เหมือนไปคุยกับคนแก่ แค่ถามเขานิดเดียวเขาก็พร้อมจะเล่าให้ฟังอย่างหมดเปลือกว่าสมัยหนุ่มๆ เขาเจ๋งแค่ไหน เขาผ่านอะไรมาบ้าง ถ้าไม่เชื่อลองกลับไปถามปู่ย่า ตายาย ที่บ้านดู เขาพร้อมจะให้เล่าให้ฟังทุกอย่างโดยที่ไม่ต้องถามเลย เอาจริงๆ พี่ว่าคนแก่เขาเหงานะพอมีคนมาคุยด้วย เขาก็รู้สึกดี บางครั้งการคุยกับคนแปลกหน้ามันก็ทำให้เราได้อะไรกลับมาเหมือนกัน แต่ต้องแทรกเข้าไปอย่างเป็นธรรมชาตินะ ทีละนิดทีละหน่อยถ้าผิดจังหวะบรรยากาศมันก็จะเปลี่ยนเลย ส่วนถ้าไม่ได้เป็นอาชีพนี้แล้วอยากเป็นอะไร อันนี้พี่คิดไม่ออก "และคำถามสุดท้ายคือ พี่รักษาตัวตน ความเป็นพี่ไว้อย่างไรคะ ท่ามกลางการทำงานของพี่ที่ต้องฟังความคิดคนอื่น หรือใครบางคนที่พี่ไปสัมภาษณ์อาจจะมีอิทธิพลต่อความคิดของพี่แล้วมันอาจทำให้ตัวตนของพี่เปลี่ยนไป
"พี่ว่าเราก็คือเราแหละ ไม่มีใครเอาความเป็นเราไปได้ พี่ว่าน้องๆ ก็เป็นเหมือนกัน อย่าเอาความสัมพันธ์ไปเปรียบเทียบกับหนังสือ มันไม่เหมือนกัน เหมือนพี่เขาบอกว่าอ่านหนังสือเล่มเดิมก็จบแบบเดิมมันไม่ใช่ อย่างเราอ่านหนังสือเรื่องเจ้าชายน้อยตอนอายุ 15 เราก็จะมองในมุมของเด็ก 15 ที่จะมองเห็น พอเราโตขึ้น ผ่านประสบการณ์มากขึ้น มีวุฒิภาวะมากขึ้น แล้วกลับมาอ่านอีกทีตอน 30 เราก็จะมองในมุมคนอายุ 30 มองเห็น คล้ายๆ การทำงานนั่นแหละ เขาจ้างเราเพราะเราเป็นเรา ไม่ใช่เพราะเราเป็นคนที่เหมือนคนอ่ื่น "
เสียดายที่เวลาค่อนข้างจำกัด พวกเราโชคดีที่ได้มาพูดคุยอีกรอบกับพี่ใบพัด ผู้ที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดคำถามในตัวของพวกเราอย่างไม่จบสิ้น สิ่งที่เราถ่ายทอดออกมานั้นอาจเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของการสนทนาก่อนการจากลา แต่สิ่งที่หลงเหลือไว้คือ ร่องรอยแห่งความประทับใจในความเป็นตัวตนของตนเอง พลังด้านบวก ความนบน้อมสมชื่อและความมีเมตตาที่พี่ใบพัดมีต่อพวกเรา ไม่เพียงแต่ให้แนวทางและจุดประกายฝันเท่านั้น แต่จะอยู่ในใจของพวกเราไปอีกนาน ขอขอบคุณพี่ใบพัดมา ณ ที่นี้จริงๆ ค่ะ
หลังจากนั้น อาจารย์ ดร. เบญจวรรณ นาราสัจจ์และตัวแทนนักศึกษาได้ไปส่งวิทยากรที่สนามบินขอนแก่นเพื่อเดินทางกลับกรุงเทพฯ โดยการมาเยือนของคุณใบพัดในครั้งนี้ไม่เพียงแต่ให้ความรู้และสร้างแรงบันดาลใจเพียงเท่านั้น แต่ยังมอบประสบการณ์อันล้ำค่าให้แก่ตัวแทนนักศึกษาและคำตอบที่ได้รับยังสามารถนำมาเป็นแรงบันดาลใจเพื่อพัฒนาตนเองให้กลายเป็นคนที่มีศักยภาพ มีความพร้อม ความสามารถมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
ภาพโดย
ตรีกวินท์ วิชัยกำจร
ตรีกวินท์ วิชัยกำจร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น