รายงานโดย
พิชชาพร มงคลวงศ์โรจน์ ชนภัทร ใชยเม็ง
ธนัชญา คูยิ่งรัตน์ ธิติกาญจน์ แสงฤทธิ์
ทิตาวีร์ การรัมย์ ธนพร ภักดีธนา
วรัญญา คลื่นแก้ว
ธนัชญา คูยิ่งรัตน์ ธิติกาญจน์ แสงฤทธิ์
ทิตาวีร์ การรัมย์ ธนพร ภักดีธนา
วรัญญา คลื่นแก้ว
สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้นำตัวแทนนักศึกษาชั้นปีที่ 1-3 จำนวน 30 คน เข้าร่วมโครงการอาณาบริเวณศึกษาด้านภูมิภาคอาเซียน ครั้งที่ 7 (The 7th ASEAN Regional Area Studies Conference 2019) ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 14 - 16 มกราคม 2562 โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ในการสร้างเครือข่ายระหว่างนิสิตและนักศึกษาหลักสูตรอาเซียนศึกษาจากสถาบันต่างๆ เพื่อส่งเสริมศักยภาพทั้งด้านวิชาการโดยการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ ปลูกฝังให้นิสิตมีความกล้าแสดงออกในทางที่ดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ตลอดจนการได้ท าความรู้จักเพื่อนใหม่ต่างสถาบัน อันเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความร่วมมือกันในอนาคตวิทยากรท่านแรก คือ อาจารย์ ดร.กรกิต ชุ่มกรานต์ ได้กล่าวถึงสังคมดิจิตอลกับการพัฒนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านเรื่องเกี่ยวกับการแสดงออกทางตัวตนของเพศ จากกรณีศึกษาในกรุงเทพฯ สิงคโปร์ และหลวงพระบาง
และอีกท่านคือ อาจารย์ภควุฒิ ทวียศ ได้กล่าวถึงในเรื่อง การพลิกผันทางดิจิตอล ซึ่งทำให้ธุรกิจต่างๆต้องปรับโครงสร้างในการทำงานใหม่ รวมทั้งพูดถึงเรื่องระบบการศึกษาทั้งในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยในยุคดิจิตอล
ในช่วงบ่ายเป็นการเสวนาวิชาการในหัวข้อ"สังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับยุคดิจิตัล" โดยตัวแทนนักศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัย ดังนี้
1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในหัวข้อ ทัศนคติต่อเพศทางเลือกในสังคมไทยผ่านสื่อภาพยนตร์ เพื่อเป็นการมุ่งเสนอทัศนคติของคนไทยต่อการยอมรับความหลากหลายทางเพศโดยผ่านสื่อภาพยนตร์เพื่อให้คนเปิดใจ เปิดกว้าง ต่อเพศทางเลือกอย่างจริงใจแท้จริงโดยไม่ต้องมีเงื่อนไข และเพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลเพศทางเลือกเหล่านั้นสามารถเปิดรับตัวตนของตัวเองได้มากขึ้นและยืนหยัดอยู่ในสังคมได้อย่างเท่าเทียม และนำไปสู่การเปิดกว้างทางกฎหมายอย่างเป็นรูปธรรม
2. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในหัวข้อ ประเด็น ถอดบทเรียนจากการเลือกตั้งมาเลเซีย สู่การเลือกตั้งใหม่ของไทย ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวข้องการนำสื่อดิจิตอลเข้ามามีบทบาทต่อการเมือง โดยมีกรณีศึกษา คือ ประเทศมาเลเซีย ที่ใช้สื่อโซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการหาเสียงเลือกตั้ง โดยฝ่ายผู้ชนะ เป็นฝ่ายที่ใช้โซเชียลมีเดียในการดำเนินการ ซึ่งจะเห็นได้ว่า การใช้พื้นที่ทางการเมืองบนโลกออนไลน์ถือว่ามีบทบาทสำคัญต่อประเทศที่กำลังขับเคลื่อนและพัฒนา และประเทศไทยเองก็ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาด้วยเช่นกัน ดังนั้น ประเด็นนี้ จึงถือว่าเป็นสิ่งที่น่าจับตามองและน่าสนใจต่อไปในอนาคต
3. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในหัวข้อ ในหัวข้อ วัฒนธรรมวัยรุ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่แสดงผ่านสื่อยุคดิจิทัล โดยศึกษาจากตัวอย่างกรณีศึกษาในประเทศเวียดนามและประเทศอินโดนีเซีย พบว่ามีวัฒนธรรมวัยรุ่นที่คล้ายคลึงกัน จากการรับสื่อและแลกเปลี่ยนข่าวสาร เช่น การสนใจวัฒนธรรมวัยรุ่นในไทยที่เกิดจากการติดตามและซึมซับวัฒนธรรมวัยรุ่นไทยผ่านสื่อเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในกลุ่มวัยรุ่นในอินโดนีเซียและเวียดนามมากขึ้น
4. มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในหัวข้อเรื่อง การสร้างความทรงจำเกี่ยวกับ สมบัด สมพอน ในยุคดิจิทัล (2012-2018) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับผู้นำและบุคคลสำคัญของประเทศลาว โดยศึกษาในประเด็นต่างๆตั้งแต่ ค.ศ.2012-2018 ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของชีวประวัติ ผลงาน ความเคลื่อนไหว และจดหมายที่ผู้คนที่เขียนถึงสมบัด สมพอน รวมถึงจดหมายจากนิทรรศการต้นไม้บันดาลใจที่จัดโดยองค์กร PADECT เพื่อเป็นการระลึกถึงสมบัด สมพอน
การนำเสนอผลงานวิชาการของ มข โดย นางสาววิลาสินี ถามูลแสน และนางสาววิชญาณี อินทะเสย์ |
พบว่าสังคมในปัจจุบันมีการปรับตัวและได้นำเทคโนโลยีทางการเงินมาใช้เป็นจำนวนมาก เช่น e- payment ฯลฯ ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวทำให้ผู้ใช้บริการสามารถชำระเงินได้หลากกลายรูปแบบทั้งเงินสดและเงินดิจิทัล ทำให้สะดวก รวดเร็ว และประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น จึงทำให้สังคมปัจจุบันเริ่มก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสดเข้าไปเรื่อยๆ แต่ไม่ได้มีเพียงประโยชน์เท่านั้น ยังคงพบอุปสรรคและผลเสียจากการใช้เทคโนโลยีในการชำระเงินด้วยเช่นกัน และปัญหากลุ่มคนที่มีฐานะยากจนและผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่ไม่สามารถเข้าถึงสังคมยุคดิจิทัลได้
หลังจากการเข้าฟังบรรยายสัมมนาจากวิทยากรพิเศษและตัวแทนมหาวิทยาลัยทั้ง 5 แห่งแล้ว ในช่วงค่ำของวันนี้ ยังมีอีกหนึ่งกิจกรรมคือ กิจกรรมประกวดดาว เดือน ดิน และกิจกรรมสังสรรค์ The 7 th ASEAN Regional Area Study ซึ่งเป็นงานที่ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เจ้าภาพได้จัดขึ้นเพื่อเป็นเป็นเวทีในการแสดงความสามารถของนักศึกษาและสังสรรค์ร่วมกันก่อนการอำลาในวันพรุ่งนี้
สำหรับการประกวดดาว เดือน ดิน ซึ่งทางหลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ส่งผู้เข้าประกวด ดังนี้
เดือน นายนราธิป วงบำหราบ หรือ บูม นักศึกษาชั้นปีที่ 1ซึ่งทั้งสามคนนั้นได้ทำการแสดงในชื่อชุดที่ว่า is me morkor...is me มข โดยแบ่งการแสดงย่อยออกเป็นสามชุด นอกจากนั้น นักศึกษาชั้นปีที่ 1 2 และ 3 ของหลักสูตร ยังได้ร่วมแสดงประกอบอีกด้วย
ดาว นางสาวชนิสรา มณีวงษ์ หรือ วิว นักศึกษาชั้นปีที่ 1
ดิน นายอนิรุจน์ ทำจ้อม หรือ คำเต้ย นักศึกษาชั้นปีที่ 1
โดยชุดแรก เป็นของผู้เข้าประกวดเดือน มาในการแสดง korea cover danc ซึ่งสร้างความตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างมาก ในการแสดงชุดที่สองเป็นของผู้เข้าประกวดดาว มาในการแสดงในรูปแบบ EDM MUSIC CAMBODIA STYLE ซึ่งเป็นการเต้นประกอบเพลง และการแสดงของดิน มาในรูปแบบการแสดงเต้นประกอบเพลงภาษาอีสาน ซึ่งทางนักศึกษาหลักสูตรของเราได้คุ้นเคยกับเพลงภาษาอีสานเป็นอย่างดี ซึ่งนักศึกษาชั้นปีที่ 2 และ 3 ก็ได้เต้นประกอบเพลงบริเวณริมโต๊ะอาหาร ซึ่งได้สร้างความสนใจและเสียงหัวเราะเป็นอย่างมาก
นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ก็ได้นำเสนอรูปแบบการแสดงอื่น ๆ ดังนี้
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มาในชื่อชุดที่ว่า วลัยแลนด์แดนวัวชน นำเสนอเพลงภาษาใต้และการร้องด้วยสำเนียงภาษาถิ่นที่มีความเป็นเอกลักษณ์และไพเราะ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มาในชุดการแสดง SEAs SUN ROAD นำเสนอการแสดงในรูปแบบ Chicago danc and song Broadway korea cover danc และเพลงภาษาถิ่นอีสาน ซึ่งถือว่าเป็นการแสดงที่หลากหลายและน่าสนใจเป็นอย่างมาก
มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ มาในชื่อชุดการแสดงที่ว่า มนต์รัก Cambridge นำเสนอการแสดงในรูปแบบการแสดงละครเพลงเกี่ยวเรื่องราวความรักของน้องพลอยกับเฟิร์ส ซึ่งสร้างเสียงหัวเราะได้เป็นอย่างมาก
และหลังจากนั้น เป็นการตอบคำถามเพื่อคัดผู้เข้าสู่รอบต่อไป โดยในระหว่างการรอผลตัดสิน ได้มีการแสดงดนตรีจากทางเจ้าภาพเพื่อสร้างบรรยากาศ หลังจากนั้น จึงเป็นการประกาศผลรางวัล ซึ่งผลการตัดสินมีดังนี้
เดือน ผู้ชนะคือ นายนราธิป วงบำหราบ หรือ บูม นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นซึ่งทางหลักสูตร ก็ขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัลและยินดีกับผู้ร่วมประกวดทุกคน หลังจากการประกวดเสร็จสิ้นก็เป็นการปล่อยให้นักศึกษาได้ร้องเพลงหรือเต้นประกอบเพลงตามอัธยาศัย ซึ่งทางนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นก็ได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่
ดาว ผู้ชนะ คือ ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ดิน ผู้ชนะ คือ ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ท่าพระจันทร์
สำหรับกิจกรรมในวันนี้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านสาระความรู้ทางวิชาการกับอาจารย์และเพื่อนๆ ในมหาวิทยาลัยอื่นๆ นอกจากนี้ยังได้รับความรู้ในเรื่องๆ ต่างเกี่ยวกับสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคดิจิตอล ซึ่งเราจะสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันและไปปรับใช้ในการเรียนในหลักสูตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป อีกทั้งยังเห็นความสามัคคีและเห็นศักยภาพของนักศึกษาในแต่ละมหาวิทยาลัยอีกด้วย รวมทั้งความสนุกสนานบันเทิงอีกด้วย ซึ่งการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ทำให้เราได้รับแนวทางในการจัดโครงการอาณาบริเวณศึกษาด้านภูมิภาคอาเซียน ครั้งที่ 8 ในปีหน้าซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นจะเป็นเจ้าภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น