สำหรับตัวแทนจากหลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ผศ.ดร.ธนนันท์ บุ่นวรรณา และนักศึกษาอีก 4 คน ได้แก่ นางสาวกัญญาณัฐ โพธิ์คำ นางสาวจิราภรณ์ ทรงพระ นางสาวฐิตินันท์ อ่องพิมาย และนางสาวศรัณย์พร อึ้งวนารัชต์ ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานในครั้งนี้ด้วย
ซึ่งนอกจากตัวแทนนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้ว ยังมีตัวแทนนักศึกษาระดับปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาต่างๆเข้าร่วมด้วย อาทิ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นต้น
จากนั้น ในช่วงเช้าและบ่ายจึงเป็นการนำเสนอผลงานทางวิชาการของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งมีตัวแทนจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นร่วมนำเสนอ 4 หัวข้อ ดังนี้
บทความ เรื่อง การสร้างการรับรู้เกี่ยวกับผลสอบ PISA ของประเทศเวียดนามผ่านสื่อไทยในปี พ.ศ.2559-2561 โดย นางสาวศรัณย์พร อึ้งวนารัชต์ ซึ่งเป็นงานที่เน้นศึกษาว่าสื่อไทย เช่น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ หนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์ ได้สร้างการรับรู้เกี่ยวกับผลสอบ PISA ของประเทศเวียดนามในปี พ.ศ.2559-2561 เป็นอย่างไร
บทความ เรื่อง เกาหลีในการรับรู้และความเข้าใจช่วง ค.ศ.2012-2016 โดย นางสาวฐิตินันท์ อ่องพิมาย ซึ่งเป็นงานที่เน้นศึกษาว่าสื่อ VOV (Voice of Vietnam) ของประเทศเวียดนามได้มีการสร้างการรับรู้และความเข้าใจช่วง ค.ศ.2012-2016 เป็นอย่างไร
บทความ เรื่อง การสร้างความทรงจำเกี่ยวับจิตร ภูมิศักดิ์ ผ่านมูลนิธิภูมิศักดิ์ ในช่วงปีพ.ศ.2552-2560 โดย นางสาวกัญญาณัฐ โพธิ์คำ ซึ่งเป็นงานที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับการสร้างความทรงจำเกี่ยวับจิตร ภูมิศักดิ์ ผ่านมูลนิธิภูมิศักดิ์ ในช่วงปีพ.ศ.2552-2560 เป็นอย่างไร
บทความ เรื่อง สถานภาพความรู้เกี่ยวกับการนำเสนอสารคดีเมืองปีนังในช่วง 5 ปี (2557-2561) โดย นางสาวจิราภรณ์ ทรงพระ บทความสถานภาพความรู้นี้ มุ่งสำรวจสถานภาพความรู้สารคดีของเมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย ในช่วง 5 ปี คือปี พ.ศ.2557-2561 เป็นอย่างไร
หลังจากที่นักศึกษาทุกคนนำเสนอผลงานเสร็จ ทางผู้จัดงานได้มอบประกาศนียบัตรเพื่อเป็นการยืนยันว่านักศึกษาได้เข้าร่วมงาน และมีการมอบรางวัล 2 ประเภท คือ บทความยอดเยี่ยมและดีเด่น และการนำเสนองานยอดเยี่ยมและดีเด่น เพื่อเป็นแรงจูงใจให้นักศึกษามีกำลังใจในการทำงานศึกษาต่อไป และก่อนที่ปิดการนำเสนองานวิชาการอย่างเป็นทางการในเวลา 16.30 น. ได้มีการถ่ายรูปหมู่เพื่อเป็นที่ระลึก
สำหรับการนำเสนอผลงานวิชาการในครั้งนี้ ถือว่าเป็นเวทีที่ให้นักศึกษาที่เข้าร่วมได้มีโอกาสแสดงศักยภาพด้านวิชาการออกมาอย่างเต็มที่ รวมถึงได้มีประสบการณ์ในการทำงานวิชาการและการนำเสนอต่อหน้าสาธารณะชนอีกด้วย สุดท้ายนี้ ถึงแม้ว่าตัวแทนนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นจะพลาดรางวัลพิเศษ ทั้งในเรื่องของบทความยอดเยี่ยมและดีเด่น และการนำเสนอผลงานยอดเยี่ยมและดีเด่น แต่นักศึกษาทุกคนก็ไม่เสียใจ เพราะสิ่งที่ได้รับจากการนำเสนองานในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ เทคนิคการเขียนงานวิชาการ การรู้จักเพื่อนต่างมหาวิทยาลัย ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นรางวัลแห่งประสบการณ์อันยอดเยี่ยมที่ตัวแทนนักศึกษาทั้ง 4 คน ต่างได้รับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น