การเรียนรู้นอกสถานที่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 428 333 แหล่งท่องเที่ยวตามประวัติศาสตร์ไทย (Historical Sites in Thai History) ทางหลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดขึ้นสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิชาเอกประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวตามยุคสมัยทางประวัติศาสตร์นอกสถานที่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ผ่านการฝึกเป็นมัคคุเทศก์ และฝึกการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว
การเดินทางมาศึกษาโบราณสถานสมัยสุโขทัยตลอดสามวัน ทั้งในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เมืองเก่าสุโขทัย และกำแพงเพชร พวกเร าได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาณาจักรสุโขทัยจนเต็มอิ่ม แต่ยังเหลืออีกหนึ่งแห่งที่พลาดไม่ได้ นั่นคือ พิษณุโลก อดีตเมืองหน้าด่านสมัยสุโขทัย เมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญในสมัยอยุธยา และยังเป็นเส้นทางผ่านเข้าสู่อีสาน ที่สำคัญยังเป็นสถานที่ตั้งของสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองพิษณุโลกนั่นคือ พระพุทธชินราช พระพุทธรูปที่ได้ชื่อว่างดงามที่สุดในประเทศไทย ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ในจังหวัดพิษณุโลก
ประวัติความเป็นมาของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
ในพงศาวดารเหนือกล่าวไว้ว่า พระมหาธรรมราชิลิไท ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงสุโขทัย ทรงมีความศรัทธาเลื่อมใสในพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกและคัมภีร์ศาสนาอื่น ๆ จนแตกฉาน พระองค์ได้ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ในฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน โดยมีพระปรางค์องค์ใหญ่อยู่ตรงกลาง มีพระวิหาร 4 ทิศ มีระเบียง 2 ชั้น และทรงรับสั่งให้ปั้นหุ่นหล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารทั้ง 3 หลัง
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2458 พระบาทสมพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ปัจจุบันวัดนี้มีชื่อเต็มว่า "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร" ชาวบ้านส่วนใหญ่คุ้นเคยและมักเรียกว่า "วัดพระศรี" หรือ "วัดใหญ่" ในวิหารที่พระประธานองค์ใหญ่ประดิษฐาน คือ "พระพุทธชินราช" และสถานทีแห่งได้กลายเป็น สถานที่แห่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ความศรัทธา ของชาวไทยและชาวต่างชาติมาอย่างยาวนานกว่า 700 ปี
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2458 พระบาทสมพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ปัจจุบันวัดนี้มีชื่อเต็มว่า "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร" ชาวบ้านส่วนใหญ่คุ้นเคยและมักเรียกว่า "วัดพระศรี" หรือ "วัดใหญ่" ในวิหารที่พระประธานองค์ใหญ่ประดิษฐาน คือ "พระพุทธชินราช" และสถานทีแห่งได้กลายเป็น สถานที่แห่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ความศรัทธา ของชาวไทยและชาวต่างชาติมาอย่างยาวนานกว่า 700 ปี
โดยมีสถานที่ ที่เป็นจุดเด่นภายในวัดดังนี้
1. วิหารทิศประดิษฐานพระพุทธรูปสามองค์
จากที่กล่าวไว้เบื้องต้น การสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดาประจำวิหารในแต่ละทิศนั้น ตามตำนานมีข้อโต้แย้งกันอยู่ 2 นัย นัยหนึ่งว่าสร้างเมื่อ พ.ศ 1500 อีกนัยหนึ่งกล่าวว่าสร้างราว พ.ศ. 1900 และจากหลักฐานหนังสือพงศาวดารเหนือกล่าวไว้ว่า
พระพุทธรูปทั้งสามองค์นั้นเป็นพระปางมารวิชัยเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะพระพุทธรูปองค์สำคัญที่ทุกท่านเมื่อผ่านมาเมืองพิษณุโลกแล้วต้องไม่พลาดที่จะเข้าไปกราบนมัสการท่าน คือ หลวงพ่อใหญ่ หรือ หลวงพ่อพระพุทธชินราช
หลวงพ่อพระพุทธชินราช
เป็นพระพุทธรูปหล่อดำสำริดปิดทอง ปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปองค์ประธานในวิหารด้านทิศตะวันตก (หันหน้าเข้าหาแม่น้ำน่าน) ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ถือว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในประเทศไทย เส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระพักตร์ (ใบหน้า) ค่อนข้างกลม พระขนง (คิ้ว)โก่ง พระเกตุมาลา (พระรัศมีที่เปล่งอยู๋เหนือเศียรของพระพุทธรูป) เป็นรูปเปลวเพลิง มีลักษณะพิเศษเรียกว่าที ฆงคุลี คือที่ปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่นิ้วยาวเสมอกันทั้งสี่น้ิว
การสร้างพระพุทธชินราช เชื่อกันว่าสร้างขึ้นในสมัยพระยาลิไทพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา โดยมีฐานชุกชีปั้นเป็นรูปบัวคว่ำ บัวหงาย โดยใช้ช่างจากเมืองศรีสัชนาลัย และเมืองหริภุญชัย ตำนานในการสร้างระบุว่าหล่อได้สำเร็จเพียงสององค์ ส่วนพระพุทธชินราชทองแล่นไม่ตลอด ต้องทำพิมพ์หล่อใหม่ถึงสามครั้ง ครั้งสุดท้ายพระอินทร์ได้แปลงกาย เป็นชีปะขาวมาช่วยเททองหล่อ จึงหล่อได้สำเร็จบริบูรณ์ แต่เดิมนั้นองค์พระไม่ได้ลงรักปิดทอง ได้มีการปิดทองครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระพุทธชินราช เมื่อ พ.ศ. 2146
ส่วน ซุ้มเรือนแก้ว เป็นงานศิลปะที่ทำขึ้นสมัยหลัง ในสมัยอยุธยา ตัวเรือนของซุ้มเรือนแก้วทำจากไม้สัก ยอดบนเป็นปลายหางตัว "มกร" ประกบกันคล้ายหางหงส์ ก่อนจะทอดยาวเป็นลายอ่อนช้อยครบองค์ประกอบของเครื่องสูง ไม่ว่าจะเป็นการลักษณะง่วงไอยรา (ง่วงช้าง) การจำหลักครีบตั้งขึ้นเป็นใบระกา ก่อนจะกระดกหัวเป็นมกรคายอุบะโค้งขึ้นด้านบน ส่วนด้านล่างคายสัตว์หิมพานต์ประเภทหนึ่งมีลำตัวยาวคล้ายนาค แต่ท่อนหัวซึ่งอยู่สองฟางองค์พระ ทำเป็นรูปตัวสัตว์ที่มีวงคล้ายคชสาร (ช้าง)มีขาคล้ายราชสีห์ (สิงโต) ส่วนซุ้มเรือนแก้วนี้ ไม่ได้สร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินราช แต่ได้รับการบูรณะ ปฏิสังขรณ์เรื่อยมา
จากที่กล่าวไว้เบื้องต้น การสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดาประจำวิหารในแต่ละทิศนั้น ตามตำนานมีข้อโต้แย้งกันอยู่ 2 นัย นัยหนึ่งว่าสร้างเมื่อ พ.ศ 1500 อีกนัยหนึ่งกล่าวว่าสร้างราว พ.ศ. 1900 และจากหลักฐานหนังสือพงศาวดารเหนือกล่าวไว้ว่า
"ในปี พ.ศ. พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏกหรือพระมหาธรรมราชาลิไท หลังจากสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระองค์ต้องการจะสร้างพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ เพื่อเป็นพระประธานในวิหาร พระองค์ได้พราหมณ์ฝีมือดีถึง 5 คน และทรงขอช่างฝีมือดีจากเมืองศรีสัชนาลัย สวรรคโลก รวมทั้งช่างฝีมือเอก จากเมืองเชียงแสงและเมืองหริภุญชัยมาช่วยกันหล่อพระพุทธรูปทั้งสามองค์"
พระพุทธรูปทั้งสามองค์นั้นเป็นพระปางมารวิชัยเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะพระพุทธรูปองค์สำคัญที่ทุกท่านเมื่อผ่านมาเมืองพิษณุโลกแล้วต้องไม่พลาดที่จะเข้าไปกราบนมัสการท่าน คือ หลวงพ่อใหญ่ หรือ หลวงพ่อพระพุทธชินราช
หลวงพ่อพระพุทธชินราช
เป็นพระพุทธรูปหล่อดำสำริดปิดทอง ปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปองค์ประธานในวิหารด้านทิศตะวันตก (หันหน้าเข้าหาแม่น้ำน่าน) ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ถือว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในประเทศไทย เส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระพักตร์ (ใบหน้า) ค่อนข้างกลม พระขนง (คิ้ว)โก่ง พระเกตุมาลา (พระรัศมีที่เปล่งอยู๋เหนือเศียรของพระพุทธรูป) เป็นรูปเปลวเพลิง มีลักษณะพิเศษเรียกว่าที ฆงคุลี คือที่ปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่นิ้วยาวเสมอกันทั้งสี่น้ิว
การสร้างพระพุทธชินราช เชื่อกันว่าสร้างขึ้นในสมัยพระยาลิไทพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา โดยมีฐานชุกชีปั้นเป็นรูปบัวคว่ำ บัวหงาย โดยใช้ช่างจากเมืองศรีสัชนาลัย และเมืองหริภุญชัย ตำนานในการสร้างระบุว่าหล่อได้สำเร็จเพียงสององค์ ส่วนพระพุทธชินราชทองแล่นไม่ตลอด ต้องทำพิมพ์หล่อใหม่ถึงสามครั้ง ครั้งสุดท้ายพระอินทร์ได้แปลงกาย เป็นชีปะขาวมาช่วยเททองหล่อ จึงหล่อได้สำเร็จบริบูรณ์ แต่เดิมนั้นองค์พระไม่ได้ลงรักปิดทอง ได้มีการปิดทองครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระพุทธชินราช เมื่อ พ.ศ. 2146
ส่วน ซุ้มเรือนแก้ว เป็นงานศิลปะที่ทำขึ้นสมัยหลัง ในสมัยอยุธยา ตัวเรือนของซุ้มเรือนแก้วทำจากไม้สัก ยอดบนเป็นปลายหางตัว "มกร" ประกบกันคล้ายหางหงส์ ก่อนจะทอดยาวเป็นลายอ่อนช้อยครบองค์ประกอบของเครื่องสูง ไม่ว่าจะเป็นการลักษณะง่วงไอยรา (ง่วงช้าง) การจำหลักครีบตั้งขึ้นเป็นใบระกา ก่อนจะกระดกหัวเป็นมกรคายอุบะโค้งขึ้นด้านบน ส่วนด้านล่างคายสัตว์หิมพานต์ประเภทหนึ่งมีลำตัวยาวคล้ายนาค แต่ท่อนหัวซึ่งอยู่สองฟางองค์พระ ทำเป็นรูปตัวสัตว์ที่มีวงคล้ายคชสาร (ช้าง)มีขาคล้ายราชสีห์ (สิงโต) ส่วนซุ้มเรือนแก้วนี้ ไม่ได้สร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินราช แต่ได้รับการบูรณะ ปฏิสังขรณ์เรื่อยมา
2. พระอัฏฐารส
โบราณสถานและโบราณวัตถุศิลปะสมัยสุโขทัย ซึ่งเป็นหลักฐานโบราณสถานสำคัญที่ยังคงเหลือรูปแบบซากสถาปัตยกรรมที่แสดงถึง ความเก่าแก่ของวัด ปัจจุบันตั้งอยู่ด้านหน้าองค์พระปรางค์ หรือด้านทิศตะวันออกของวัด ตรงบริเวณฐานชุกชีมีองค์พระอัฏฐารสประทับยืนประทานพร หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก พระหัตถ์ขวา ยกขึ้นเสมอพระอุระ (ทรวงอก) พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงมาข้างพระกาย เบื้องหลัง ก่อผนังปูนหนา มีเสาไม้คำยันไว้ 2 ต้น เมื่อคุณเข้าไปบริเวณวัด คุณจะเห็นพระอัฏฐารสยืนสูงเด่นเป็นสง่าบริเวณหน้าประปรางค์ของวัด พร้อมทั้งสถาปัตยกรรมวิหารที่ยังหลงเหลืออยู่
5. พระปรางค์
พระปรางค์ |
พระปรางค์องค์ใหญ่ดั้งเดิมแล้วเป็นทรงดอกบัวตูม หรือพุ่มข้าวบิณฑ์ในสมัยสุโขทัย ต่อมาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ อยุธยาตอนต้น พระองค์ได้ย้ายมาประทับที่พิษณุโลก ทำให้พิษณุโลกได้เป็นเมืองหลวงชั่วคราวของอยุธยาถึง 25 ปี พระองค์ได้ทำนุบำรุงพุทธศาสนาและนำเอาศิลปะแบบอยุธยาเข้ามาสร้างให้มีเอกลักษณ์เพื่อเป็นขอบเขตอาณาจักร
พระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์เดิมจึงได้รับการบูรณะปรับปรุงให้เป็นพระปรางค์ตามยุคสมัย โดยเป็นพระปรางค์ทรงคล้ายฝักข้าวโพด และมีการซ่อมแซมเปลี่ยนแปลงโดยการบูรณะตามยุคสมัยอย่างต่อเนื่อง เช่น การนำเอากระเบื้องโมเสคที่ฉาบด้วยทองไปปิดทำให้เกิดความสวยงาม เรียกว่า "นพเก้า" ลอกปูนที่หมดอายุนำเอาปูนปั้นรูปพญาครุฑยุดนาคลงทั้ง 12 ตน และนำครุฑที่เรียกว่าครุฑพาห์ทิศละ 1 ตน และยักษ์พระเวสสุวัณทิศละ 6 ตน รวมสี่ทิศด้วยกัน
6. พระอุโบสถและหลวงพ่อโต
หลวงพ่อโต |
โดยรอบพระอุโบสถมีกำแพงแก้วล้อม มีใบเสมาหินชนวนคู่ตั้งอยู่บนฐานเสมา ผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่าเดิมคงสร้างในสมัยสุโขทัย ในรัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ 1 และมีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งสำคัญในกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภายในยังมีภาพจิตรกรรมพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่สวยงาม
พระอุโบสถ |
ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นแต่เพียงบางส่วนเท่านั้น ยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์และสิ่งก่อสร้างอีกมากมายที่ไม่สามารถจะหล่าวถึงได้ทั้งหมดในที่นี้ เมื่อคุณมีโอกาสผ่านมาที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก อย่าลืมที่จะไปกราบสักการะพระพุทธชินราช เพื่อความเป็นศิริมงคล และชื่นชมความงามขององค์พระพุทธชินราช การตกแต่งภายในวิหาร และสถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนมาก และเนื่องจากจังหวัดพิษณุโลกอยู่ในเส้นทางผ่านไปยังภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ จึงเป็นเมืองยุทธศาสตร์และชุมทางสำคัญ อันแสดงถึงความรุ่งเรืองและความต่อเนื่องทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน โดยเฉพาะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมาแต่อดีต ที่แห่งนี้จึงเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่ไม่ควรพลาดที่จะมาเยี่ยมชมเป็นอย่างยิ่ง
ข้อควรปฏิบัติ : ควรแต่งกายสุภาพ ผู้หญิงไม่ควรนุ่งสั้นและใส่เสื้อแขนกุด ภายในวิหารมีคนค่อนข้างมาก ห้ามยืนถ่ายรูปโดยเด็ดขาด สามารถนั่งถ่ายรูปได้
การเดินทาง
- เดินทางมาบนถนนหมายเลข 11 หรือ 17 มุ่งตรงเข้าไปยังตัวเมืองพิษณุโลก จากนั้นใช้เส้นทางมาหมายเลข 12 ถนนพิษณุโลก - หล่มสัก มุ่งตรงไปเส้นทางไปศาลากลาง ถ้ามาทางหมายเลข 11 ก่อนข้ามสะพานแม่น้ำน่านวัดตั้งอยู่ ขวามือ ถ้ามาทางหมายเลข 117 ข้ามแม่น้ำน่านมาวัดตั้งอยู่ซ้ายมือ
- ที่ตั้ง : 92/3 ถ. พุทธบูชา ต.ในเมืองพิษณุโลก พิษณุโลก 65000
การเข้าชม
- เวลาทำการ : ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06:30-18:00 น.
- ช่วงเวลาเที่ยวชม : ตลอดทั้งปี
- ค่าเข้าชม : ไม่มีค่าเข้ามชม
อ้างอิง
MUSEUM THAILAND. พระพุทธรูปแฝด 3 พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2562, จาก http://www.museumthailand.com/th/3036/storytelling/พระพุทธรูปแฝด-3/
Emagtravel. วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร พระพุทธชินราช พิษณุโลก. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2562, จาก https://www.emagtravel.com/archive/watprasri-phitsanulok.html
PHITSANULOK HOTNEWS. พระปรางค์วัดใหญ่. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2562, จาก https://www.phitsanulokhotnews.com/2013/02/21/32475
MGR ONLINE. ดูของดีที่ "วัดใหญ่" ไหว้พระพุทธชินราชคู่เมืองสองแคว. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2562, จาก https://mgronline.com/travel/detail/9530000011904
สยามรัฐ. ของดีในวัดใหญ่ จ.พิษณุโลก. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2562, จาก https://siamrath.co.th/n/50478
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น