วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2561

บทบาทของไทยในประชาคมอาเซียน

ประเทศไทยคือหนึ่งในห้าผู้ร่วมก่อตั้งประชาคมอาเซียนโดยร่วมลงนามในข้อตกลงปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8  สิงหาคม พ.ศ.2510 ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการร่วมกันวางรากฐานกำหนดกฎบัตรอาเซียนขึ้นให้เป็นแนวทางการดำเนินงานให้มีความสอดคล้องกับสภาพสังคมที่เป็นจริงในปัจจุบันโดยเฉพาะเศรษฐกิจ การเมืองความมั่นคง ตลอดจนสังคมและวัฒนธรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าที่ยั่งยืนในทุกๆด้าน ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก

เรียบเรียงโดย เจษฎา รักษาภักดี


กฎบัตรอาเซียนเป็นสัญญาความร่วมมือระหว่างประเทศในสมาชิกอาเซียนด้วยกัน ซึ่งประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการร่วมกำหนดกฎบัตรนี้ขึ้น ว่าด้วยแผนการดำเนินงานการจัดตั้งประชาคมอาเซียนทั้ง 3 ด้าน อันได้แก่

ด้านการเมืองความมั่นคง  ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในส่งเสริมให้เกิดสันติภาพทางการเมืองในภูมิภาคตลอดจนการเสริมสร้างความมั่นคงทางการเมืองและพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ดังจะเห็นได้จากการเร่งให้กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ในปี 2551 ซึ่งไทยเป็นประธานอาเซียน หรือแม้กระทั้งการเสนอเรื่อง ASEAN Troika หรือ ในปี 2542 ซึ่งช่วยปรับปรุงความรวดเร็วในการทำงานของอาเซียน เพื่อประสานความร่วมมือที่ชัดเจนและทันต่อเหตุการณ์ ตลอดจนการส่งเสริมมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (CBMs) และการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy)

ด้านเศรษฐกิจ  ไทยได้เสนอและผลักดันให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ ASEAN Free Trade Area (AFTA) ในปี 2535 ตามแนวคิดของ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี โดยการรวมตลาดอาเซียนเข้าด้วยกัน มีการลดภาษีศุรกากรระหว่างกัน ส่งเสริมการค้าภายในให้มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น พัฒนาคุณภาพของสินค้าให้ดียิ่งขึ้น อำนวยความสะดวกในด้านการคมนาคม ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพด้านเศรษฐกิจ ความโปร่งใสและสร้างความเข้มแข็งในการแข่งขันในระดับโลก

ด้านสังคมและวัฒนธรรม  ไทยมีบทบาทสำคัญให้การผลักดันเกิดความร่วมมือในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กระทั่งเกิดเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน หรือ ASEAN University Network (AUN) ขึ้น  อีกทั้งการต่อต้านยาเสพติดและผลักดันให้มีปฎิญญาว่าด้วยเรื่องโรคเอดส์ รวมถึงการส่งเสริมด้านสาธารณสุข การส่งเสริมสิทธิของสตรีและเด็ก ตลอดจนการป้องกันภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น
ที่มา: http://www.thansettakij.com/content/12429


ประเทศไทยมีบทบาทที่สำคัญในการก่อตั้งและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาในประชาคมอาเซียน รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศสมาชิกในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม เพื่อเป็นการพัฒนาความมั่นคง ความเจริญรุ่งเรืองของเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ดีขึ้น ภายใต้กฎบัตรอาเซียนอันเป็นสัญญาร่วมกันของสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนาภายในประชาคมอาเซียนเป็นไปตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ และยังผลักดันให้อาเซียนมีความเจริญก้าวหน้าและความเข้มแข็งตลอดจนการพัฒนาอย่างยั่งยืน

อ้างอิง

ปณิธาน วัฒนายากร.การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2561 จาก www.mfa.go.th/asean/contents/files/other-20130117-142850-907825.pdf

จารุวรรณ .บทบาทไทยในอาเซียน.สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2561 จาก https://jeinvspong.wordpress.com

การเตรียมพลเมืองไทยเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน.บทบาทของไทยต่อประชาคมอาเซียน.สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2561 จาก  https://sites.google.com/site/xaseiynsuksam3/karte-ri-ym-phlmeuxng-thiy-pheux-khea-su-prachakhm-xaseiyn

ศูย์ข้อมูลข่าวอาเซียนกรมประชาสัมพันธ์.ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประชาคมอาเซียน.สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2561 จาก http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=3349&filename=index

1 ความคิดเห็น: