ประเทศอินโดนีเซีย |
อินโดนีเซียประเทศแห่งหมู่เกาะIndonesia
อินโดนีเซียมาจากคำว่า Indos ne-sos มีความหมายว่า “หมู่เกาะใกล้อินเดีย” เนื่องจากหมู่เกาะเหล่านี้ตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียชื่อที่เป็นทางการคือ “สาธารณรัอินโดนีเซีย” อินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะน้อยใหญ่ประมาณ17,500เกาะเป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลกแต่ส่วนมากเต็มไปด้วยเทือกเขาสูงภูเขาไฟและหนองบึงประมาณ3,000เกาะที่มีประชากรอยู่เท่านั้นที่มีประชากรอยู่อาศัยเกาะที่มีคนอาศัยอยู่มากที่สุดคือ “เกาะชวา”
ภูเขาไฟมากที่สุดในโลก
อินโดนีเซียมีภูเขามากกว่า 100 ลูก
หลายลูกมีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น ภูเขาไฟโบรโม ความสูง 2,392 เมตร
ปะทุครั้งล่าสุดตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2553 ถึงปัจจุบัน
ภายในภูเขาไฟโบรนั้นมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา และมีควันพวยพุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟ
ภูเขาไฟโบรโมจึงได้รับสมญานามว่า “ลมหายใจเทพเจ้า”
กาโด กาโด
อาหารยอดนิยมของประเทศอินโดนีเซีย
"กาโด กาโด" เป็นชื่อเรียกอาหารพื้นเมืองที่ขึ้นชื่อและแพร่หลายชนิดหนึ่งของอินโดนีเซีย คำว่า"Gado" แปลว่า ผสมรวม (Mix) หรือ ยำ ซึ่งเรียกตามลักษณะการปรุงและส่วนประกอบประกอบไปด้วยผัก ทั้งผักสด ผักต้ม และผักลวก และธัญพืชหลายชนิด ราดด้วยซอสที่ทำจากถั่ว ทั้งแครอท มันฝรั่งกะหล่ำปลี ถั่วงอก ถั่วเขียว ถั่วฝักยาว ขนุนอ่อน ผักกาดหอม นอกจากนี้ยังมีเต้าหู้ และไข่ต้ม ในสุราบายา เรียกว่า กาโดกาโด สิราม ซึ่งจะราดน้ำซอสลงไปบนเครื่องปรุงอื่น ในบันดุงและโบกอร์ จะเคล้าน้ำซอสให้เข้ากับเครื่องปรุงก่อนเสิร์ฟ ในจาการ์ตา เรียกว่า กาโดกาโด โบโพล ใช้เมล็ดมะม่วงหิมพานต์แทนถั่วลิสง
"กาโด กาโด" เป็นชื่อเรียกอาหารพื้นเมืองที่ขึ้นชื่อและแพร่หลายชนิดหนึ่งของอินโดนีเซีย คำว่า"Gado" แปลว่า ผสมรวม (Mix) หรือ ยำ ซึ่งเรียกตามลักษณะการปรุงและส่วนประกอบประกอบไปด้วยผัก ทั้งผักสด ผักต้ม และผักลวก และธัญพืชหลายชนิด ราดด้วยซอสที่ทำจากถั่ว ทั้งแครอท มันฝรั่งกะหล่ำปลี ถั่วงอก ถั่วเขียว ถั่วฝักยาว ขนุนอ่อน ผักกาดหอม นอกจากนี้ยังมีเต้าหู้ และไข่ต้ม ในสุราบายา เรียกว่า กาโดกาโด สิราม ซึ่งจะราดน้ำซอสลงไปบนเครื่องปรุงอื่น ในบันดุงและโบกอร์ จะเคล้าน้ำซอสให้เข้ากับเครื่องปรุงก่อนเสิร์ฟ ในจาการ์ตา เรียกว่า กาโดกาโด โบโพล ใช้เมล็ดมะม่วงหิมพานต์แทนถั่วลิสง
ชุดประจำชาติอินโดนีเซีย
ชุดเกบายาลักษณะเป็นเสื้อแขนยาว ผ่าหน้า
กลัดกระดุม ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ ส่วนผ้าถุงที่ใช้จะเป็นแบบบาติก ซึ่งเป็นการแต่งกายแบบผสมผสานระหว่างเสื้อคลุมสั้นแบบชวาและโสร่ง
และนุ่งโสร่งเมื่ออยู่บ้านหรือประกอบพิธีละหมาดที่มัสยิด ‘ด้วยสไตล์เย็บปักถักร้อยแบบสมัยปี 2493 ที่เรียกว่า ซูลัม มีดอกไม้มากมายบนชุดเกบายา เช่น ดอกชบา ดอกกล้วยไม้
ดอกโบตั๋น ดอกกุหลาบ มีลักษณะและขนาดที่แตกต่างกัน วิธีการตัดเย็บของ
จะเป็นแบบดั้งเดิม แต่การออกแบบของเขามีเอกลักษณ์และทันสมัยเขาระบุว่า
โดยทั่วไปแล้ว การตัดเย็บ ‘ชุดเกบายา’ เพียงตัวเดียว ใช้เวลาทำมาก 40-70 ชั่วโมงเลยทีเดียว
และลูกค้าที่ต้องการการออกแบบลวดลายเฉพาะต้องรอประมาณ 2-3 เดือน
ศิลปะและวัฒนธรรม
มีชนพื้นเมืองหลายชาติพันธุ์กระจายกันอยู่ตามเกาะ
ทำให้วัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องที่แตกต่างกันไประบำบารอง (Barong Dance) ตามตำนานบาหลีดั้งเดิมเชื่อในสัตว์ประหลาดศักดิ์สิทธิ์ “บารอง” ที่มีหน้าตาคล้ายกับสิงโตจีน
ซึ่งการแสดงบารองเป็นการผสมผสานตัวแสดงที่เป็นคนหน้ากาก สัตว์
และหุ่นเชิดตัวบารองต้องใช้คนเชิดคล้ายๆการเชิดสิงโตถึง 2 คน
คนหนึ่งเป็นหัวอีกคนเป็นหางเครื่องต่งกายงดงามอลังการประดับด้วยดอกไม้สด
เวทีประกอบฉากเป็นหินสลักรูปต่างๆจำลองเป็นป่าตามท้องเรื่องมีดนตรีประกอบและบทพูดป็นภาษาบาหลี
นักแสดงจะต้องฝึกฝนการระบำบารองตั้งแตยังเด็กเพื่อให้ได้ท่วงท่าที่อ่อนช้อยและเข้าถึงบทบาท
สถานที่ท่องเที่ยวในอินโดนีเซีย |
|||
พุทธสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในประเทศอินโดนีเซีย
ตั้งอยู่ที่เมืองยอร์กยาการ์ตา หรือ ยอกยาบนเกาะชวาถูกสร้างขึ้นก่อนปราสาทนครวัดของกัมพูชาประมาณ 300
ปี โดยสร้างขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7-9 โดยกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์
ถือได้ว่าบุโรพุทโธเป็นโบราณสถานที่มีอายุมากกว่า 1,000 ปีมาแล้ว
แม้ว่าประเทศอินโดนีเซียนั้นจะมีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดในโลก
แต่บุโรพุทโธก็ยังคงเป็นสถานที่ที่ผู้คนให้ความสนใจมาก นับเป็นศูนย์รวมใจของชาวพุทธในชวาและพุทธศาสนิกชนทั่วโลก
จนองค์การยูเนสโกประกาศให้กลายเป็นมรดกโลก ในปี ค.ศ.1991พุทธสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในประเทศอินโดนีเซีย
ตั้งอยู่ที่เมืองยอร์กยาการ์ตา หรือ ยอกยา บนเกาะชวา
ถูกสร้างขึ้นก่อนปราสาทนครวัดของกัมพูชาประมาณ 300 ปี
โดยสร้างขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7-9 โดยกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์
ถือได้ว่าบุโรพุทโธเป็นโบราณสถานที่มีอายุมากกว่า 1,000 ปีมาแล้ว
แม้ว่าประเทศอินโดนีเซียนั้นจะมีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดในโลก
แต่บุโรพุทโธก็ยังคงเป็นสถานที่ที่ผู้คนให้ความสนใจมาก นับเป็นศูนย์รวมใจของชาวพุทธในชวาและพุทธศาสนิกชนทั่วโลก
จนองค์การยูเนสโกประกาศให้กลายเป็นมรดกโลก ในปี ค.ศ.1991พุทธสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในประเทศอินโดนีเซีย
ตั้งอยู่ที่เมืองยอร์กยาการ์ตา หรือ ยอกยา บนเกาะชวา
ถูกสร้างขึ้นก่อนปราสาทนครวัดของกัมพูชาประมาณ 300 ปี
โดยสร้างขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7-9 โดยกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์
ถือได้ว่าบุโรพุทโธเป็นโบราณสถานที่มีอายุมากกว่า 1,000 ปีมาแล้ว
แม้ว่าประเทศอินโดนีเซียนั้นจะมีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดในโลก
แต่บุโรพุทโธก็ยังคงเป็นสถานที่ที่ผู้คนให้ความสนใจมาก นับเป็นศูนย์รวมใจของชาวพุทธในชวาและพุทธศาสนิกชนทั่วโลก
จนองค์การยูเนสโกประกาศให้กลายเป็นมรดกโลก ในปี ค.ศ.1991
เจดีย์บุโรพุทโธเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของศาสนาพุทธนิกายมหายานโดยสถาปัตยกรรมที่แสดงออกถึงความเป็นอัจฉริยะสูงสุดทางศิลปะสมัยไศเลนทรามีความแตกต่างจากโบราณสถานทุกแห่งในชวาซึ่งบุโรพุทโธมีรูปร่างทรงดอกบัว เป็นสัญลักษณ์ของพุทธศาสนานิกายมหายานตามแบบศิลปะฮินดู – ชวา หรือศิลปะชวาภาคกลางซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียโดยมีการผสมผสานศิลปะระหว่างอินเดียและอินโดนีเซียไว้ด้วยกันอย่างสวยงาม
บริเวณรอบบุโรพุทโธเต็มไปด้วยหินสลักนูนต่ำ
ซ้อนกันเป็นชั้นๆลดหลั่นกันไป โดยมีทั้งหมด 10 ชั้น แต่ละชั้นมีภาพที่แสดงคติธรรมทางพุทธศาสนามากมาย
ในชั้นบนสุดของบุโรพุทโธ ที่ถือว่าเป็นส่วนยอดสุดของวิหาร
มีลักษณะเป็นฐานวงกลมใหญ่ของเจดีย์องค์ประธาน เวลาที่มองมาจากที่ไกล
จะเห็นเป็นเหมือนดอกบัวขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กลางหุบเขา
มีผู้อุปมาภาพที่ปรากฏนี้ว่าเป็นดั่งสรวงสวรรค์
ที่แสดงถึงการหลุดพ้นจากทุกสรรพสิ่งในโลก
หรือที่เรียกว่านิพพานอันเป็นจุดหมายสูงสุดของศาสนาพุทธบุโรพุทโธได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติมากมาย
ทั้งแผ่นดินไหว ภูเขาไฟ และน้ำท่วมหลายครั้ง
แต่ก็มีการบูรณปฏิสังขรณ์จนกลายมาเป็นมรดกโลกที่สำคัญในทางพระพุทธศาสนา
เป็นที่กราบไหว้และสักการบูชาของพุทธศาสนิกชน
และยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญในประเทศอินโดนีเซียอีกด้วย
2.โทราจาแลนด์ (Torajaland)
ขั้นชื่อว่าเป็นดินแดนลึกลับแห่งอิเหนา
ที่ถูกล้อมรอบไปด้วยเทือกเขา เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบเรื่องเร้นลับ ปริศนา
ความเชื่อ นี่อาจเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่น่าสนใจ
โดยสถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณที่สูงทางตอนใต้ของเกาะสุลาเวสี
ถูกล้อมรอบไปด้วยเทือกเขา เป็นสถานที่ที่ชาวโทราจาอาศัยอยู่
3.นาขั้นบันไดบาหลี Tegalalang
นาข้าวขั้นบันไดถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญสำหรับประเทศอาเซียน
เพราะการมีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นภูเขาอันอุดมสมบูรณ์และมีการทำนาข้าวขั้นบันได
ก็มักจะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สามารถดึงดูดให้นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้เดินทางเข้าไปสัมผัสกับวิถีชีวิตของผู้คน
รวมถึงชื่นชมกับทัศนียภาพที่งดงามเขียวขจี
โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการถ่ายภาพ
นาข้าวขั้นบันไดมักจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับต้นๆที่จะต้องเดินทางไปถ่ายภาพให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต
และนาข้าวขั้นบันไดที่หมู่บ้าน เตกัลลาลัง เกาะบาหลี อินโดนีเซีย
คือนาข้าวขั้นบันไดที่มีทิวทัศน์งดงามเหมาะแก่การถ่ายภาพเป็นอันดับต้นๆในกลุ่มประเทศอาเซียน
นาข้าวขั้นบันไดหมู่บ้านเตกัลลาลัง หรือ Tegalalang Rice Terrace ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านเตกัลลาลัง เขต Gianyarตอนเหนือของอูบุด
เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
มีพื้นที่อยู่ริมแม่น้ำระหว่างช่องเขาของเทือกเขาที่อยู่ห่างออก
ไปทางเหนือของอูบุดประมาณ 5 กิโลเมตร
เป็นนาขั้นบันไดที่มีอายุยาวนานกว่า 2,000 ปี ชาวพื้นเมืองใช้เครื่อง
มือโบราณค่อยๆแกะสลักภูเขาทั้งลูกให้กลายเป็นคลื่นขั้นบันได
และคิดค้นระบบชลประทานเพื่อกักเก็บน้ำที่ไหลลงมาจากภูเขาไว้ใช้ในนาข้าว
ชาวบาหลีเรียกระบบชลประทานแบบนี้ว่า ซูบัก( Subak)เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ทศวรรษที่
9 นอกจากนี้ซูบักยังมีความเชื่อมโยงกับ สังคม วัฒนธรรม
และศาสนา ข้าวคือพืชที่สำคัญของชาวบาหลี เป็นสินค้าที่สำคัญ
และต้องใช้เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
ซึ่งทั้งหมดล้วนแต่ผูกพันเชื่อมโยงปฏิทินทางศาสนาและฤดูกาลละฤดูกาล
เกษตรกรรมคือวิถีของชาวบาหลี ด้วยภูมิประเทศแบบภูเขา นาขั้นบันไดจึงเป็นการอยู่ร่วมกับธรรมชาติที่ไม่เพียงเป็นแหล่งปลูกข้าวเท่านั้น ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีทัศนียภาพที่งดงามอีกด้วย เตกัลลาลังมีนาข้าวขั้น บันไดที่สวยที่สุดในบาหลี เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายภาพมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีบรรยากาศที่อ่อนโยนผ่อนคลายเงียบสงบ มีสภาพแวดล้อมที่เป็นเอกลักษณ์ของบาหลี ท้องทุ่งนาเขียวขจีปกคลุมไปทั่วเทือกเขาสลับกับทิวมะพร้าวยอดแหลมที่โบกสบัดพัดไหวไปมาตามแรงลม อากาศสดชื่นเย็นสบายแบบชนบท ไอหมอกลอยละเหนือยอดเขา บรรยากาศโดยรอบเหมาะแก่การนั่งจิบกาแฟในร้านบนเนินเขาดื่มด่ำกับวิวทิวทัศน์ที่งดงามเบื้องหน้า หมู่บ้านเตกัลลาลังไม่เพียงแต่มีนาขั้นบันไดที่เป็นจุดเด่นในการดึงดูให้นักท่องเที่ยวมาเยือน แต่ที่นี่ยังมีชื่อเสียงเรื่องงานศิลปะและของที่ระลึกที่ทำจากไม้อีกด้วย บนเนินเขาเหนือนาขั้นบันไดมีคนนำของระลึกสวยๆมาวางขายให้ได้เลือกซื้อมากมาย อีกทั้งยังมีร้านกาแฟจำนวนมากให้นักท่องเที่ยวได้นั่งจิบเครื่องดื่มพร้อมกับชมวิวสวยๆ
4.มัสยิดอิสติกลัล (Istiqlal)
อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดในโลก
ดังนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลกใจที่อินโดนีเซียจะมีมัสยิดกว่า 6 แสนแห่ง
ซึ่งในนั้นมีมัสยิดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือ อิสติกลัล
ที่ในภาษาอาหรับมีความหมายว่า “เอกราช” ซึ่งตั้งอยู่ในใจกลางกรุงจาการ์ตาและถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวท้องถิ่น
จากความหมายที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยากรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ มัสยิด
อิสติกลัล ไม่เพียงแต่เป็นสัญลักษณ์ของชาวมุสลิมอินโดนีเซียเท่านั้น
หากยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดเมื่อมีโอกาสมาเยือนอินโดนีเซีย
ลานหลักของมัสยิด อิสติกลัล สามารถรองรับชาวมุสลิมได้กว่า 2 แสนคน
หลังคาถูกออกแบบเป็นโคมขนาดใหญ่และตกแต่งด้วยรูปจนทร์เสี้ยวและดาว
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาอิสลาม บริเวณโดยรอบแกะสลักตัวอักษรด้วยเหล็ก
หลังคาโคมมีเสา 12 ต้นรับน้ำหนัก
ซึ่งเป็นตัวเลขวันเกิดของศาสดา มูฮัมหมัด
ซึ่งการออกแบบนี้ช่วยให้เสียงอ่านบทสวดมนต์ดังกังวาน
มิสยิดนี้เปิดทุกวันและไม่มีการคิดค่าเข้าชมแต่ยินดีรับเงินบริจาคควรถอดรองเท้าก่อนเข้าสู่ภายในมัสยิดเฉพาะชาวมุสลิมเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้เข้าสู่โถงหลักอย่างไรก็ดีสำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นชาวมุสลิมสามารถชมได้จากบนระเบียงภายในสถานที่มีไกด์สำหรับนำผู้มาเยือนทีไม่ได้เป็นชาวมุสลิมชมรอบๆมิสยิด
ถึงแม้สถาปนิก Frederich Silaba เป็นชาวคาทอลิก
แต่การออกแบบของเขายังคงเป็นไปตามเอกลักษณ์ของมัสยิดชาวมุสลิม
โดยภายในมัสยิดมีหอสูงเพื่อประกาศให้ชาวมุสลิมเข้ามาสวดมนต์และผู้แสวงบุญ
จะเดินตามหอสูงนี้เพื่อไปยังมัสยิดได้ หอสูงนี้ก่อสร้างในทิศตะวันตกของลานหลัก มีความสูง
6,666 เซนติเมตร
ซึ่งเป็นตัวเลขสัญลักษณ์แทนจำนวนประโยคในคัมภีร์อัล-กุรอาน
อ้างอิง
จากเว็ปไซต์
|
คนเดินทาง. (2560). "ชมบ้านเก็บศพทรงแปลกที่โทราจาแลนด์". (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2561. จาก, https://www.konderntang.com/
คนเดินทาง, (2560). "ความยิ่งใหญ่ของมัสยิดอิสติกลัล". (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2561. จาก, https://www.konderntang.com/
เชษฐ์ ติงสัญชลี. (ม.ป.ป.). ศิลปะอินโดนีเซีย. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2561, จาก http://www.art-in-sea.com/th/data/indonesia-art.html
ณัฐพร สินทร. (2556). บุโรพุทโธ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2561, จาก https://natthaponbb.wordpress.com/
ไทยรัฐ. (2555). “บุโรพุทโธ”วิหารแห่งสวรรค์. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2561, จาก https://www.thairath.co.th/content/272108
ไม่ปรากฏ. (2560). “ชมนาข้าวขั้นบันไดที่หมู่บ้านเตกัลป์ลาลัง”. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2561. จาก,http://gothailandgoasean.tourismthailand.org/th/
ไม่ปรากฏ. (2560). “Tegalalang Rice Terrace : ผืนนาข้าวขั้นบันไดสีเขียวสะท้อนแสง”. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2561. จาก,https://www.panasm.com/tegalalang-rice-terrace/
Freedomcry crygame. (2560). “โทราจาแลนด์”. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2561. จาก, http://jarame159.blogspot.com/
koi_la_zy. (2013). 10 เรื่องหน้ารู้ในอินโดนีเซีย.22ตุลาคม,2018 จาก: https://travel.mthai.com/travel_tips/64303.html
MGR online. (2558). มหัศจรรย์ “บุโรพุทโธ” พุทธสถานในแดนอิเหนา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2560, จาก http://www.manager.co.th/travel/viewnews.aspx?NewsID=9580000061627
Hương Trà. (2559). “มัสยิด อิสติกลัล – สัญลักษณ์ของชาวมุสลิมอินโดนีเซีย”. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2561. จาก, http://vovworld.vn/th-TH/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น