วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Malaysia Tourist Attractions and Facts

ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) 
Related image
ที่มาภาพ https://www.videoblocks.com
มาเลเซีย หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐมาเลเซีย(Federation of Malaysia) เป็นประเทศหนึ่งในสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ASEAN) มีพื้นที่ส่วนหนึ่งอยู่บนแหลมมลายู และพื้นที่พื้นที่อีกส่วนหนึ่งอยู่บนเกาะบอร์เนียว เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์(Kuala Lumpur) มาเลเซียเป็นประเทศที่มีความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ

มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม รวมถึงมีความทันสมัย ทำให้มาเลเซียเป็นประเทศที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายและน่าสนใจ มาเลเซียจึงเป็นประเทศหนึ่งที่ควรไปสัมผัสด้วยตัวเองซักครั้งในชีวิต สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศมาเลเซียนั้นแต่ละเมืองล้วนมีเอกลักษณ์และมีเสน่ห์ที่ต่างกันหากจะนำมานำมาร้อยเรียงเพื่อนำเสนอให้ท่านผู้อ่านนั้นคงจะทำได้ยาก บทความนี้ผู้เขียนจึงขอแนะนำเกร็ดความร้ และสถานที่ท่องเที่ยวใน 3 เมืองสำคัญของมาเลเซีย ซึ่งถือได้ว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ความสำคัญ ได้แก่ มะละกา ปีนัง และกัวลาลัมเปอร์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
                       
      
เรียบเรียงโดย คุณาสิน ลุนพุฒ และ วรุณ สมานเพชร


ข้อควรรู้เกี่ยวกับมาเลเซีย

หลังจากทำความรู้จักกับสถานที่ท่องเที่ยวในมาเลเซียแล้ว เราอยากแนะนำเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ทั้งอาหารการกิน ประเพณีและวัฒนธรรม รวมถึงขนบธรรมของประเทศมุสลิมแห่งนี้ ซึ่งจะทำให้คุณได้รู้จักกับประเทศมาเลเซียมากยิ่งขึ้น 

การทักทายของชาวมาเลเซีย 
Image result for greeting cartoon malaysia
ที่มาภาพ https://www.123rf.com
ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ควรรู้ประการแรกเมื่อจะเดินทางไปท่องเที่ยวหรือไปติดต่อกับบุคคลต่างๆ ที่มาเลเซีย เนื่องจากธรรมเนียมการทักทายของมาเลเซียนั้นจะมีแบบแผนที่เข้มงวด เพราะหากคุณเป็นผู้ชาย จงทักทายผู้ชายก่อน แล้วจึงทักทายผู้หญิง และผู้หญิงมักจะทักทายผู้หญิงก่อน อย่างไรก็ตาม เมื่อใดก็ตามที่ผู้หญิงมาเลเซียไม่จับมือทักทายกับชายอื่น ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ด้วยว่าประเทศมาเลเซียนี้ผู้หญิงจะไม่จับมือทักทายกับชายแปลกหน้า ส่วนวิธีการทักทายแบบมาเลเซียคือการสัมผัสฝ่ามือของผู้อื่นแล้วจึงสัมผัสใจของตน ซึ่งมีความหมายว่า “ฉันยินดีที่ได้รู้จักคุณจากก้นบึ้งของหัวใจ”

ข้อพึงระวัง

ที่มาเลเซียนี้จะถือว่าการกอดและจูบไม่ใช่สิ่งที่พึงปฏิบัติกับคนนอกครอบครัว การนั่งไขว่ห้างต่อหน้าเจ้าบ้านก็ถือว่าเป็นกิริยาที่ไม่ควรปฏิบัติโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้หญิง การชี้ด้วยนิ้วถือว่าหยาบคายมาก ที่มาเลเซียจะนิยมใช้นิ้วในการบอกทาง แต่จะไม่ใช้กับคน การจะชี้คนนั้นคนนี้ให้กำมือขวาโดยมีนิ้วโป้งอยู่บนสุด แล้วเล็งไปที่บุคคล ควรใช้มือขวาในการส่งหรือรับของ เนื่องจากที่มาเลเซียถือกันมาแต่เดิมว่ามือซ้ายเป็นมือที่สกปรก เพราะต้องใช้ปฏิบัติกิจในห้องน้ำ และข้อพึงระวังที่สำคัญคือ ด้วยความที่มาเลเซียเป็นประเทศที่มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ดังนั้นภาพยนตร์โป๊ กึ่งโป๊ จึงถือเป็นสิ่งของต้องห้ามในประเทศมาเลเซีย

การคมนาคม รถโดยสารประจำทางเป็นวิธีการเดินทางที่ประหยัดในมาเลเซีย บริการรถประจำทางจะวิ่งตามเส้นทางและคิดค่าโดยสารตามระยะทางที่ใช้บริการ โดยปกติแท็กซี่ในเมืองใหญ่จะมีการติดตั้งมิเตอร์ สำหรับผู้ที่ต้องการสำรวจสถานที่แห่งอื่นของมาเลเซีย การใช้บริการรถโดยสารเป็นอีกทางเลือกที่สะดวกง่ายดาย ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 35 ริงกิต ระบบคมนาคมของกรุงกัวลาลัมเปอร์มีระบบขนส่งมวลชนประเภทรางอยู่ 5 ประเภทคือ รถไฟฟ้าชานเมือง KTM Komuter รถไฟลอยฟ้า STAR รถไฟลอยฟ้า-ใต้ดิน PUTRA รถไฟฟ้ารางเดียว KL Monorail และรถไฟฟ้าด่วนสนามบิน KLIA Express


พหุวัฒนธรรมและประเพณี

Related image
ที่มาภาพ https://penangmonthly.com
แม้จะเป็นประเทศมุสลิมที่ค่อนข้างเคร่งศาสนาอิสลามแต่เพราะการเข้ามาของกลุ่มคนจากหลายชนชาติ ทำให้มาเลเซียมีความเป็นพหุวัฒนธรรมของมาเลเซียนกจากจะเห็นได้จากมรดกทางสถาปัตยกรรมซึ่งมีทั้งโบสถ์ วัดจีน มัสยิด และวัดแขก การมีวัฒนธรรมและความเชื่อที่แตกต่างหลากหลาย 

ทำให้มีประเพณีการจัดงานตามเทศกาลขึ้นตามความเชื่อของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นสีสันอย่างหนึ่งของมาเลเซีย ได้แก่ ประเพณีของชาวมุสลิม เช่น เทศกาลฮารีรายาอีดีลฟิตรี เป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสสิ้นสุดเดือนรอมฎอนหรือการถือศีลอด เทศกาลฮารีรายาไอดิลลัดฮา หรือฮารีรายาฮายี การเฉลิมฉลองความสมบูรณ์ของการไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่กรุงเมกะ

ประเพณีของชาวฮินดู เช่น เทศกาลไทปูซูม มีการจัดขบวนแห่อย่างยิ่งใหญ่เพื่อบูชาพระขันธกุมาร (Lord Murugan) เทศกาลดีปาวาลีหรือเทศกาลแห่งแสงประทีปของชาวฮินดู มีการอาบน้ำมัน สวดมนตร์ และเลี้ยงอาหารแขกที่มาเยี่ยม ประเพณีของชาวจีนโพ้นทะเล เทศกาลทั้งเทศกาลตรุษจีน การเฉลิมฉลองปีใหม่กว่า 2 สัปดาห์ของชาวจีนในมาเลเซีย และเทศกาลไหว้พระจันทร์

นอกจากนี้วันวิสาขบูชาของชาวพุทธ และเทศกาลคริสต์มาสของชาวคริสต์ อย่างไรก็ตามแม้จะมีวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลายแต่ก็มีวันที่ชาวมาเลเซียทั่วประเทศร่วมกันเฉลิมฉลอง คือ วันชาติมาเลเซีย ตรงกับวันที่ 31 ตุลาคมของทุกปี จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงวาระที่สหพันธรัฐมาลาย (ชื่อในตอนนั้น) ได้เอกราชจากอังกฤษในปี 1957 มีการประดับธงชาติ ขบวนพาเหรด และกิจกรรมเฉลิมฉลองใหญ่โตทั่วประเทศ


อาหารการกิน 

Related image
ที่มาภาพ http://femalemag.com

หากต้องการที่จะลิ้มรสอาหารท้องถิ่นที่มาเลเซียควรที่จะลองรับประทานอาหารหาบเร่หรือร้านอาหารริมทาง ส่วนอาหารการกินในมาเลเซียนั้นมีความคล้ายคลึงกับอาหารไทย ซึ่งมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย เหมาะกับคนที่ไปเที่ยวแต่ไม่กล้าลองเมนูพื้นถิ่นที่มีหน้าตาแตกต่างจากอาหารไทย เช่น สะเต๊ะ (Stay) เนื้อหมักเสียบไม้ย่างบนไฟ ย่างจนแห้งและมีรสชาติติดหวาน คล้อยคลึงกับหมูปิ้งของไทย แต่ที่มาเลเซียนิยมใช้เนื้อไก่หรือเนื้อวัว บางครั้งมีสะเต๊ะเนื้อปลา เนื้อกวาง หรือเครื่องในไก่ สามารถเลือกจิ้มได้กับซอสรสหวาน ซอสเผ็ด และน้ำจิ้มสะเต๊ะ คนมาเลเซียกินสะเต๊ะแกล้มกับข้าวห่อใบตอง หรือ Ketuput 

เมนูถัดมาคือ ลักซา (Laksa) คล้ายกับก๋วยเตี๋ยว มีรสชาติจัดจ้าน มีน้ำซุปหลากหลายรูปแบบ น้ำข้นหอมกรุ่นกะทิ เสริมด้วยลูกชิ้นปลาและถั่วงอก นอกจากนี้ยังมีลักซาสูตรปีนัง เรียกว่า Asam Laksa มีรสเผ็ดอมเปรี้ยวเพราะมีส่วนผสมคือน้ำมะขาม ซึ่งเป็นสูตรเฉพาะของปีนัง 

นอกจากเมนูของคาวแล้ว ยังมีเมนูของหวานอย่าง เตตาริก (TehTarik) เป็นชาชักใส่นมข้นหวานที่คนชงต้องเทชาไปมาระหว่างกระป๋อง 2 ใบ เพื่อให้รสชาติกลมกล่อมและช่วยให้ชาร้อนๆ เย็นลง และเมนูของหวานจานที่สอง คือ เชนดอล (Cendol) ลอดช่องสูตรมาเลย์ เสิร์ฟพร้อมน้ำแข็งไสและน้ำเชื่อม สูตรต้นตำหรับแท้ๆต้องใส่น้ำเชื่อมหอมหวานที่ทำจากน้ำตาลโตนด Gula Malacca

Related image
หมี่เสียว ที่มาภาพ https://en.wikipedia.org
ในประเทศไทยมีอาหารอย่างข้าวผัดอเมริกันที่คนอเมริกันไม่รู้จัก ลอดช่องสิงคโปร์ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับประเทศสิงคโปร์แต่อย่างใด ในมาเลเซียก็มีเมนูที่คนไทยฟังแล้วต้องอดที่จะสงสัยไม่ได้อย่างหมี่เสียม(Meesiam) เพี้ยนมาจากคำว่า หมี่สยาม แต่หน้าตาไม่เหมือนอาหารเมนูใดเลยในประเทศไทยเลย เป็นเส้นหมี่ขาวใส่น้ำซุปโทนสีแดงออกรสเผ็ดๆหวานๆ เสิร์ฟพร้อมกุ้งตัวเล็กนิยมให้ส้มจี๊ดมาปรุงรสตามชอบ



ชุดประจำชาติ

Related image
ที่มาภาพ https://babogenglish.wordpress.com
สำหรับชุดประจำชาติมาเลเซียของผู้ชายเรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหม ผ้าฝ้าย ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจู กุรุง (Baju Kurung) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาว และกระโปรงยาว

ศิลปะการแสดง

Related image
ที่มาภาพ https://www.tourism.gov
ด้วยความที่มาเลเซียเป็นประเทศที่มีความเป็นพหุวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ส่งผลให้มีศิลปะการแสดงที่น่าสนใจเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม มีการแสดงที่เป็นที่นิยมกันมากในประเทศมาเลเซียคือ การเต้นรำยอเก็ต (Joget) ซึ่งลักษณะการเต้นจะมีชีวิตชีวาเคลื่อนไหวไปพร้อมกับจังหวะดนตรีที่สนุกสนาน 

ศิลปะการแสดงประเภทนี้มีต้นกำเนิดจากการเต้นรำพื้นเมืองของชาวโปรตุเกส ที่กล่าวถึงรัฐมะละกาเมืองท่าการค้าที่มีความเจริญรุ่งเรืองในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ส่วนการรำมะหยง (Mak Yong) เป็นการแสดงที่ใช้บอกเล่าเรื่องราวของความรัก ร้องเพลงละคร และละครตลก เป็นการแสดงขึ้นชื่อของรัฐกลันตัน นอกจากนี้ยังมีศิลปะการแสดงของชาวจีน ศิลปะการแสดงตามกลุ่มชาติพันธุ์ และศิลปะการแสดงแบบอินเดีย ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบต่างๆ กันไป



สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ

ปีนัง (Penang) เมืองวัฒนธรรมผสมผสาน

Image result for ปีนัง
ที่มาภาพ https://pantip.com
มรดกอันอุดม แหล่งมนตราที่พึ่งทางใจ ชายหาดงาม และอาหารโอชารส ทำให้รัฐปีนัง เป็นเกาะเล็กๆ ที่มีผู้มาเยือนตลอดปี ในบรรดารัฐต่างๆ ของมาเลเซีย ปีนังเป็นอาณานิคมเก่าแก่ที่สุด มีพื้นที่ 285 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแหลมมลายู เป็นเมืองที่มีบรรยากาศ ขนบธรรมเนียมที่เป็นจีนมากกว่าทุกเมืองในมาเลเซีย ปัจจุบันปีนังเป็นเมืองที่ทันสมัยเมืองหนึ่งของมาเลเซีย มีบรรยากาศของวัฒนธรรมตะวันตกกับตะวันออกที่มาผสมผสานกันอย่างกลมกลืนและมีเสน่ห์ 

นอกจากทิวทัศน์สวยงามแล้ว ปีนังยังถือเป็นสวรรค์ของนักช็อปไม่แพ้เมืองใดในโลก เสน่ห์ความงามของชายหาดปีนังที่โด่งดัง และทะเลน้ำอุ่นที่นิ่งสงบ ทำให้ปีนังกลายเป็นสถานที่พักตากอากาศที่สำคัญ จากการที่ประชากรมีหลากหลายเชื้อชาติ   ความมั่งคั่งทางวัฒนธรรมและการมีเทศกาลต่างๆ มากมาย ทำให้ปีนังเป็นที่สนใจ และมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวให้เก็บปีนังไว้ในความทรงจำตลอดไป อาทิ

จอร์จทาวน์ (George Town) 

Related image
ที่มาภาพ https://www.flickr.com
Related image
  ที่มาภาพ http://www.kravel-on.com
ไฮไลท์สำคัญของเกาะปีนัง เพราะบริเวณนี้รายล้อมไปด้วยบ้านเรือนเก่าแก่สวยงามมากมาย โดยมีสถาปัตยกรรมแบบจีนผสมยุโรป คล้ายกับบ้านเรือนสไตล์ชิโนโปรตุกีสใน จังหวัดภูเก็ต เสน่ห์ของจอร์จทาวน์ไม่ได้มีเพียงแค่อาคารบ้านเรือนสวยๆ เหล่านี้เท่านั้น แต่ยังมีการสอดแทรกงานศิลปะสุดล้ำของศิลปินที่มาภาพ รุ่นใหม่ลงไปที่ผนังเก่าๆ ทำให้บ้านเมืองแห่งนี้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังจะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น จิบกาแฟโบราณยามเช้า ได้ใช้ชีวิตแบบเนิบช้าที่ไม่เหมือนใครอีกด้วย ทั้งนี้จอร์จทาวน์ได้รับการจดทะเบียนให้เป็น World Heritage Site โดยองค์การยูเนสโกเมื่อปี 2008


ปีนังฮิลล์ (Penang Hill)

Image result for Penang Hill
ที่มาภาพ https://www.thesun.co.uk
ยอดเขาที่สูงที่สุดในปีนัง รู้จักกันดีในนามของ Bukit Bendaraหรือบูกิต เบนดารา ยอดเขาแห่งนี้มีความสูงประมาณ 833 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นจุดชมวิวเมืองปีนังและท้องทะเลโดยรอบที่สวยที่สุด โดยนักท่องเที่ยวสามารถที่จะนั่งกระเช้าไฟฟ้าขึ้นไปยังด้านบน มีระยะทางประมาณ 1,996 เมตร จะมีสถานีย่อยระหว่างทางเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชมในจุดต่างๆ ในส่วนด้านบนของปีนัง ฮิลล์ยังมีศาลานั่งเล่น พิพิธภัณฑ์นกฮูก ร้านอาหาร มัสยิด วัดฮินดู สวนนก และสวนดอกไม้รอคอยให้นักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชม โดยกระเช้าไฟฟ้าจะเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 06.30-23.00 น.

บาตูเฟอรินกิ (Batu Ferringhi) 

ชายหาดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปีนัง ทอดตัวขนานกับถนนริมชายฝั่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจอร์จทาวน์ นักท่องเที่ยวสามารถอาบแดดหรือผ่อนคลายบนชายหาด หรือสนุกตื่นเต้นไปกับการทำกิจกรรมในทะเลมากมาย ยามพระอาทิตย์ตกดิน บาตูเฟอรินกิจะเต็มไปด้วยบรรยากาศสนุกสนานครื้นเครงจากร้านขายสินค้ากลางแจ้งที่ขายสินค้าทุกชนิด ตั้งแต่ของหรูหรา ไปจนถึง ของที่ระลึกน่าซื้อมากมาย นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวยังสามารถชมการสาธิตกรรมวิธีผลิตงานศิลปะ หรือวาด ผ้าบาติกที่ต้องใช้ความละเอียดปราณีตได้อย่างใกล้ชิด


กัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)เมืองแห่งความทันสมัย

Related image
ที่มาภาพ https://sites.google.com
กัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur) เรียกอีกชื่อว่า KL เป็นเมืองหลวงของมาเลเซียและเป็นเมืองหลวงของรัฐสลังงอร์ การเดินทางจากประเทศไทยไปกัวลาลัมเปอร์สะดวกเพราะมีสายการบินหลายสายที่มีเที่ยวบินไปกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งนอกจากกรุงเทพฯ แล้ว ยังสามารถเดินทางได้จากเชียงใหม่ ภูเก็ต และกระบี่ ที่มีสายการบินมุ่งตรงสู่กัวลาลัมเปอร์ 
Related image
ที่มาภาพ https://blog.bangkokair.com


เมืองหลวงแห่งนี้เป็นศูนย์กลางของหน่วยงานราชการ ธุรกิจการค้า การเงินการธนาคาร แฟชั่น วัฒนธรรมและศิลปะ กัวลาลัมเปอร์จึงมีระบบขนส่งมวลชนที่ดีมากทั้ง รถไฟฟ้า และรถไฟรางเดี่ยว ทำให้การเที่ยวรอบเมืองกัวลาลัมเปอร์ทำได้ง่าย ทั้งยังสะดวกและรวดเร็ว เมืองกัวลาลัมเปอร์ยังเป็นเมืองแห่งความทันสมัยเห็นได้จากตึกรามบ้านช่อง และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่สะท้อนความถึงก้าวหน้าของเมืองนี้ อาทิ





ตึกแฝดเปโตรนาส (Petronas Twin Towers)
ville Paysage urbain nuit réflexion Horizon Gratte-ciel soir la tour tours Petronas Kuala Lumpur Malaisie crépuscule métropole centre ville point de repère zone urbaine Zone métropolitaine Établissement humain caractéristique géographique Bloc de tour photographie aérienne
ที่มาภาพ https://wallhere.com
สิ่งก่อสร้างมหัศจรรย์ของมาเลเซีย ที่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของประเทศ ตัวตึกได้รับแรงบันดาลใจมาจากสถาปัตยกรรมแบบอิสลาม มีความสูงกว่า 451.9 เมตร มีพื้นราว85,000 ตารางเมตร มีทั้งหมด 88 ชั้น ใช้แผ่นเหล็กกล้านำเข้าจากยุโรปหุ้มตัวตึก วัดพื้นที่รวมกันได้ถึง 214,000 ตารางเมตร สร้างในยุครัฐบาล ดร.มหาธีร์ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี ค.ศ.1993 แล้วเสร็จและเปิดใช้อย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.1996 ใช้งบประมาณมหาศาล 

ครั้งหนึ่งตึกนี้เคยเป็นตึกที่สูงที่สุดในโลก
มีสะพานเชื่อมระหว่างตึกทั้งสอง (Skybridge) ที่ชั้นที่ 42 ซึ่งเป็นจุดที่สูงที่สุดที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ มีบัตรคิวให้วันละ 1,000 ใบเท่านั้น ขึ้นชมรอบละ 15 นาที ลิฟท์ของตึกนี้วิ่งเร็วมาก ประมาณ 5 เมตรต่อวินาที ใช้เวลาโดยเฉลี่ยชั้นละ 1 วินาที Skybridge เปิดให้ขึ้นชมตั้งแต่ 08.30-15-00 น. เปิดทุกวัน ปิดเฉพาะวันจันทร์ ค่าขึ้นชมฟรี


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ที่มาภาพ https://unsplash.com

นอกจาการขึ้นไปถ่ายรูปและชมทิวทัศน์ของเมืองแล้ว ตึกนี้ยังมีส่วนที่เป็นห้างสรรพสินค้า ศูนย์ประชุม พิพิธภัณฑ์ โลกใต้น้ำ ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ได้แก่ Suria KLCC ศูนย์รวมสินค้าแบรนด์เนม สามารถเลือกสรรสินค้ายี่ห้อต่างๆ เป็นศูนย์การค้าที่ทันสมัยที่สุดในกัวลาลัมเปอร์ 

Aquaria KLCC โลกใต้น้ำที่จัดแสดงสัตว์น้ำหาดูได้ยากกว่า 150 ชนิด ด้วยพื้นที่ 5,000 ตารางฟุต เปิดให้เข้าชม 10.00-22.00 น. ปิดการจำหน่ายตั๋วเวลา 21.00 น. เปิดให้เข้าชมทุกวัน ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 38 RM เด็กอายุ 3-12 ปี 4 RM และ พิพิธภัณฑ์น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ(Petrosains) ตั้งอยู่ที่ชั้น 4 จัดเเสดงเกี่ยวกับน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งตะวันออกของมาเลเซีย โดยบริษัทน้ำมันแห่งชาติPetronas เจ้าของตึกแฝดแห่งนี้ วันจันทร์-พฤหัสบดี เปิดตั้งแต่เวลา 09.30-17.30 น. วันศุกร์ 13.30-15.30 น. วันเสาร์-วันอาทิตย์และวันหยุดราชการ 09.30-18.30 น.


หอคอยเคแอล ทาวเวอร์ (KL Tower) 

Image result for กัวลาลัมเปอร์
ที่มาภาพ https://blog.bangkokair.com
ตั้งอยู่บริเวณสวนสาธารณะบูกิต นานาส สร้างเสร็จและเปิดให้ขึ้นชมเมื่อปีค.ศ.1996 สูง421 เมตร ซึ่งสูงเป็นอันดับสี่ของโลก ใช้เป็นหอส่งสัญญาณวิทยและโทรทัศน์ ตั้งอยู่กลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ ทำให้สามารถชมทัศนียภาพของเมืองได้โดยรอบ เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 09.00-22.00 น. ปิดการจำหน่ายตั๋วเวลา 21.30 น.ค่าเข้าชมสำหรับผู้ใหญ่ 20 RM เด็ก 10 RM และผู้สูงอายุ 17 RM



บูกิต บินตัง (Bukit Bintang)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ bukit bintang
ที่มาภาพ http://www.kuala-lumpur.ws
สำหรับใครที่เป็นสายช็อปเราขอแนะนำ บูกิต บินตัง (Bukit Bintang) ย่านช็อปปิ้งที่มีชื่อเสียงมากของกัวลาลัมเปอร์ เป็นศูนย์กลางการค้า มีร้านค้าหลากหลายประเภททั้งแบรนด์เนมดังราคาแพง และแบรนด์ราคากลางๆ เริ่มจากสถานี KL Monorall : Bukit Bintang มีทางเดินเชื่อมไป Bintang walk ซึ่งเป็นศูนย์รวมของห้างหรู อาทิ ISETAN, Lot 10, Piccalo Galleria, Gualalampur Plaza และ Star Hill Gallery อีกฝั่งหนึ่งมี Bukit Bintang Plaza, Sungai Wang Plaza
หากสนใจเครื่องใช้ไฟฟ้าและไอทีให้ไปที่ Plaza Low Yat มีสินค้าอาทิ กล้องดิจิตอล อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือให้เลือกซื้อ ย่านนี้ยังมีโรงแรมชั้นดี ร้านอาหาร ผับ และบาร์แทรกตัวอยู่กับห้างสรรพสินค้า ทำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คึกคักทั้งเวลากลางวันและกลางคืน


มะละกา (Malacca) เมืองประวัติศาสตร์



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ที่มาภาพ http://www.malacca.ws
มะละกาเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นเมืองท่าที่สำคัญตั้งแต่ยุคจารีต ที่มาของเมืองมะละกาคือ เมื่อประมาณศตวรรษที่ 1400 เจ้าชายปรเมศวร (Paraeswara) ผู้ครองเกาะเทมาเส็ก (สิงคโปร์) ถูกกองทัพชวาโจมตีจนต้องหนีขึ้นมาทางเหนือ ในขณะที่พักทัพอยู่นั้น พระองค์ทอดพระเนตรเห็นหมาป่า 2 ตัว ไล่ทำร้ายกระจงสีขาวตัวเล็กๆตัวหนึ่ง ในที่สุดกระจงน้อยตัวนั้นจึงตัดสินใจสู้ จนเตะสุนัขตัวหนึ่งตกลงไปในสระน้ำ 

พระองค์ทรงชื่นชมและมองว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดีจึงตั้งเมืองที่นี่และให้ชื่อว่า มะละกา (Malaka แปลว่ามะขามป้อม) ตามชื่อของต้นมะขามป้อมที่มีอยู่มากในแถบนี้ พระองค์สร้างพระราชวังขึ้นตรงเนินเขาริมฝั่งแม่น้ำมะละกา ซึ่งเป็นเสมือนจุดเริ่มต้นของเมืองท่าแห่งนี้

เนื่องจากภูมิประเทศติดกับทะเลและมีช่องแคบซึ่งเป็นทางผ่านของเรือขนส่งสินค้า ทั้งยังมีเดินเรือจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่คอยอำนวยความสะดวกแก่เรือเดินสมุทร ทำให้พ่อค้ามากหน้าหลายตาต่างแวะเวียนเข้ามาทำการค้าและครอบครองดินแดนแห่งนี้ ได้แก่ ชาวจีน ชาวโปตุเกส ชาวฮอลันดา และชาวอังกฤษ 

การเป็นสถานที่ต้อนรับผู้คนหลากหลายชนชาติทำให้เกิดการรับเอาและผสมผสานทางวัฒนธรรม ทั้งยังทิ้งไว้เป็นร่องรอยไว้เป็นมรดกให้คนรุ่นหลัง เห็นได้จากสถาปัตยกรรมที่งดงามซึ่งสื่อถึงอัตลักษณ์ของกลุ่มผู้สร้าง ซึ่งผู้เขียนจะนำเสนอประวัติศาสตร์ของมะละกาผ่านสถาปัตยกรรมของแต่ละชนชาติ ดังนี้

     วัดเช็งฮุนเต็ง (Cheng hoon Teng Temple) 

Image result for วัดเช็งฮุนเต็ง (Cheng hoon Teng Temple)
ที่มาภาพ https://pantip.com
วัดจีนที่เก่าแก่ที่สุดในมาเลเซีย สร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1645 เป็นสถานที่ที่คนจีนในมาเลเซียเลื่อมใสอย่างมาก ภายในประดิษฐานเทพสามองค์ คือ เจ้าแม่กวนอิม เทพธิดาแห่งความเมตตา เจ้าแม่หม่าโจ เทพธิดาแห่งท้องทะเล และเทพเจ้ากวนอู เทพเจ้าแห่งสงคราม และยังมีพระหยกขาวที่อัญเชิญมาจากพม่า ภายในศาลาตกแต่งด้วยไม้กะสลักอย่างวิจิตรงดงามเป็นภาพต่างๆ เช่น สัตว์มงคล ดอกไม้ นก และผลไม้ เป็นต้น


หลังคามึงด้วยกระเบื้องดินเผา ตกแต่งด้วยตุ๊กตาจีนทำท่าร่ายรำ วัดแห่งนี้สร้างโดย ชาวจีน ซึ่งเป็นชนชาติแรกที่เข้ามาถึงมะละกา เมื่อจักรพรรดิหมิงส่งกองเรือนำโดย นายพล เช็ง โฮ ในปี ค.ศ.1409 ความสัมพันธ์ของทั้งสองชาติเป็นไปด้วยดี มะละกายอมสวามิภักดิ์ต่อจีน เพื่อแลกกับการคุ้มครองไม่ให้ถูกโจมตีจากกองทัพสยาม นอกจากนี้ยังมีของชาวจีนอพยพซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่ทยอยเข้ามาตั้งรกรากในภูมิภาคนี้ในภายหลัง
    
มัสยิดกัมปุงฮูลู (Kampung Hulu Mosquei) 

Related image
ที่มาภาพ http://www.gomelaka.my
มัสยิดแห่งแรกของมาเลเซีย สร้างเมื่อปี ค.ศ.1728 เป็นมัสยิดทรงเอกลักษณ์ของมะละกา คือมีหอคอยสูงทรงหลายเหลี่ยม หลังคาเป็นทรงปิรามิด 2 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องสีน้ำตาล มัสยิดนี้ตั้งอยู่ที่ถนนจลันกัมปุงฮูลู มัสยิดแห่งนี้เป็นสิ่งที่ยืนยันการเข้ามาของศาสนาอิสลาม มาพร้อมกับพ่อค้าอินเดียมุสลิมที่นำเอาความเชื่อของตนเข้ามาเผยแพร่ด้วย 


ศาสนาอิสลามที่พ่อค้าชาวอินเดียนำเข้ามาไม่ได้เคร่งมาก ดังนั้นจึงสามารถนำความเชื่อพื้นเมืองเข้ามาผสมผสานได้ อีกทั้งการรับเอาศาสนาดังกล่าวยังมีผลดีต่อการทำการค้ากับชาวมุสลิม ศาสนาอิสลามจึงเข้ามาอิทธิพลในภูมิภาคแห่งนี้ โดยเริ่มจากมะละกาเป็นที่แรกขยายไปยังหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
   
 ประตูไร้กำแพงซานติเอโก (Porto De Santiago)

Related image
 ที่มาภาพ http://melakadihatiku.blogspot.com
เป็นส่วนหนึ่งของป้อมปราการ เอ ฟาโมซา หรือเดอะเฟมัส (A’Famosa or The Famous) ซึ่งถูกทุบทำลายในสมัยที่อังกฤษเข้ามาปกครองโดยคำสั่งของผู้ปกครองเกาะปีนัง โชคดีที่เซอร์ โทมัสสแตมฟอร์ด ราฟเฟิลส์ ซึ่งเดินทางมาจากสิงคโปร์ ได้สั่งยับยั้งเพราะเห็นว่ามีคุณค่าทางประวัติศาสตร์แต่การทุบทำลายนั้นทำให้เหลือเพียงประตูซานติเอโก ผู้คนจึงขนานนาว่า ประตูไร้กำแพง (Porto De Santiago) ประตูแห่งนี้สูง 7 เมตร หนา 2.5 เมตร สร้างจากหินศิลแลงฉาบปูน ด้านหน้ามีปืนใหญ่ตั้งอยู่รายรอบ 

ถัดไปด้านในมีโบสถ์เซ็นต์ปอล (St. Paul Church) โบสก์เก่าไม่มีหลังคาซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาภายในป้อมปราการนี้ โบสถ์แห่งนี้ยังเป็นที่ฝังศพชั่วคราวของเซ็นต์ ฟรานซิสเซเวียร์ (Saint Francis Xavier) นักบวชชาวสเปนที่นำศาสนาคริสต์นิกาคาทอลิกเข้ามาเผยแพร่จนเป็นที่รู้จักในเอเชียตะวันออก

ป้อมปราการนี้สร้างโดยชาวโปตุเกสซึ่งเริ่มเข้ามา เมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ.1509 เรือของชาวโปตุเกสนำโดย ดิเอโก โลเปซ เดอซิเกียร่า (Diego Lopez De Sequeira) นับเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่เข้ามาถึงภูมิภาคนี้ ในช่วงแรกชาวผิวขาวมักจะโดนกีดกันและมีปัญหากับทั้งชนพื้นเมืองและพ่อค้าชาวมุสลิม และในบางครั้งถึงขั้นนองเลือด จนเป็นเหตุให้เกิดการบุกยึดมะละกาในที่สุด เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ.1511 โปตุเกสได้เผาทำลายพระราชวังเดิมและสร้างป้อมปราการ เอ ฟาโมซา หรือเดอะเฟมัส (A’Famosa or The Famous) ขึ้นแทนที่ 

 จัตุรัสดัตช์ (Dutch square)

Related image
ที่มาภาพhttp://www.tvbento.com
ย่านที่สถาปัตยกรรมล้วนถูกระบายด้วยสีแดง เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของมะละกาและเป็นสิ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวทั่วโลกรู้จักเมืองท่าแห่งนี้ ย่านนี้ประกอบด้วยสถาปัตยกรรมต่างๆ เช่น อาคารพิพิธภัณฑ์เยาวชน หอนาฬิกาตัน กิม เส็งและสถาปัตยกรรมที่สำคัญ โบสถ์คริสต์มะละกา (Christ ChurchMelaka) เป็นสิ่งก่อสร้างที่ใช้อิฐจากฮอลันดาแล้วฉาบด้วยดินแดงท้องถิ่น มีตัวอักษรสีขาวเขียว่า Christ Church Melaka ด้านล่างมีตัวเลข 1753 หมายถึงปีที่สร้าง 

ใช้เวลาสร้างกว่า 12 ปี เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่ฮอลันดาเข้ามาปกครองมะละกาครบรอบ 100 ปี เปิดให้เข้าชมทุกวัน 09.00-17.00 น. ชาวฮอลันดาชาวตะวันตกชาติที่สองที่เข้าครอบครองมะละกา ได้ปิดล้อมป้อมปราการ เอ ฟาโมซา หรือเดอะเฟมัส(A’Famosa or The Famous)ของโปตุเกสกว่า 6 เดือน จึงสามารถยึดครองได้ในวันที่ 14 มกราคม ค.ศ.1641 มะละกาอยู่ภายใต้การปกครองของฮอลันดากว่า 150 ปี

     โบสถ์ ฟรานซิสเซเวียร์ (Church of St.Francis Xavier) 

Related image
ที่มาภาพ https://www.trekearth.com
สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1849 ในสมัยที่อังกฤษเข้ามาปกครองมะละกา เป็นโบสถ์ที่สร้างเพื่ออุทิศให้กับเซ็นต์ ฟรานซิสเซเวียร์ (Saint Francis Xavier) นักบุญคนแรกที่นำคริสต์ศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในมะละกา เขาได้รับสมญานามว่า “ผู้เผยแพร่ศาสนาคริสต์แห่งตะวันออก” (The Apostle of the East)

โบสถ์หลังนี้มีรูปทรงแบบกอทิก (Gothic Style) มีหอคอยคู่ที่โดเด่น ภายในบุด้วยกระจกสีวาดลวดลายสวยงาม ด้านหน้ามีรูปหล่อสำริดของเซ็นต์ ฟรานซิสเซเวียร์ และมิชชันนารีชาวญี่ปุ่น ยาจิโร่ อังกิโระ (YajiroAngero) การเข้าปกครองมะละกาของอังกฤษนั้น

เนื่องจากในช่วงเวลาที่ฮอลันดาแพ้ฝรั่งเศสในสงครามนโปเลียนในทวีปยุโรป ฮอลันดาจึงเซ็นสัญญากับอังกฤษให้เข้ามาครอบพื้นที่อาณานิคมของตนแทนเป็นการชั่วคราว เพื่อให้พ้นจากพวกฝรั่งเศส ภายอังกฤษยอมคืนเพียงส่วนที่เป็นประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน ทำให้มะละกาจึงอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษเรื่อยมาจนกระทั่งประกาศอิสรภาพและไม่ขึ้นตรงต่ออังกฤษของมาเลเซีย
 



อนุสรณ์การประกาศอิสรภาพ (Proclamation of Independence Memorial)

Related image
ที่มาภาพ http://www.pbase.com
สร้างตั้งแต่ปี ค.ศ.1911 ความสำคัญถูกเปลี่ยนเป็นสถานที่ประกาศเอกราชจากอังกฤษเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ.1957 เป็นอาคาร 2 ชั้นสีชมพู-เหลืองรูปทรงวิคตอเรียผสมศิลปะมาเลย์ มียอดโดมสีเหลืองตั้งอยู่บนหลังคาทั้งสองด้าน ภายในจัดนิทรรศการแสดงภาพวาด ภาพถ่าย หุ่นจำลอง แผนที่ เล่าถึงประวัติศาสตร์ของประเทศมาเลเซีย ตั้งแต่ยุคสุลต่าน การเข้ามาของชาติอาณานิคม จนกระทั่งการประกาศเอกราชจากอังกฤษ และยังมีพระราชวัติของราชาธิบดีและพระมเหสีที่ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นปกครองเป็นประมุขของประเทศจากแต่ละรัฐในมาเลเซียวาระละ 5 ปี




แหล่งข้อมูล

อรอนงค์ กรุณา และคณะ แปล. 2547. มาเลเซีย. กรุงเทพฯ: หน้าต่างสู่โลกกว้าง.
วิทย์ บัณฑิตกุล. 2555. มาเลเซีย. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.
อรณิช รุจิวิพัฒน์. 2555. คู่มือนักเดินทางมาเลเซีย. กรุงเทพฯ: 48 ฟิล์ม.
ปริวัฒน์ จันทร. 2550. คู่มือนำเที่ยวมะละกา. กรุงเทพฯ: สารคดี.
คุณากร วาณิชย์วิรุฬห์. 2553. กัวลาลัมเปอร์-มะละกา. กรุงเทพฯ: วงกลม.
อดิศักดิ์ จันทร์ดวง. 2550. ใครๆ ก็ไปเที่ยวมาเลเซีย. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
มาเลเซีย – ศิลปะการแสดง. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2561 จากhttp://www.sac.or.th/databases/southeastasia/subject.php…
ชุดประจำชาติมาเลเซีย. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2561 จากhttps://sites.google.com/…/mnmase…/chud-praca-chati-maleseiy
บาตูเฟอรินกิ. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2561 จาก

10 ที่เที่ยวปีนังสุดฮิต ไปปีนังเมื่อไรต้องไปเช็คอิน. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2561 จาก https://travel.kapook.com/view149399.html…

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น